ธุรกิจแฟรนไชส์

สำหรับท่านที่กำลังนึกอยู่ว่าจะลงทุนอะไรดี หากพูดถึงธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) หลายท่านคงคุ้นหูเนื่องจากมีธุรกิจแฟรนไชส์เติบโตมากมายในยุคปัจจุบันซึ่งเจ้าใหญ่ ๆ ก็มีให้เห็นหลากหลายธุรกิจแต่ที่พบเห็นอยู่เป็นประจำก็ได้แก่ ธุรกิจค้าปลีก (Retail Business) เช่น ไก่ย่างห้าดาว เซเว่นอีเลเว่น แฟมิลี่มาร์ท ท็อปส์ หรือธุรกิจเครื่องดื่มชานมที่กำลังมาแรง อาทิเช่น เสือพ่นไฟ KOI โนบิชา โมมิสุเฮาส์ สตาบัค อเมซอน อินทนิล แบลคแคนยอน และอื่น ๆ นอกจากนี้ยังธุรกิจที่ให้บริการเกี่ยวกับน้ำมันที่หลายท่านคงคุ้นหูอย่างปตท เอสโซ พีที และเชลล์ซึ่งในแต่ละธุรกิจล้วนแล้วแต่การลงทุนจำนวนเงินมากน้อยแตกต่างกันออกไปโดยขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัยทั้งที่ดิน คน แรงงาน และทรัพยากร  ดังนั้น ก่อนทำการลงทุนใด ๆ ควรวิเคราะห์ถึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT) ของธุรกิจเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการตลาด และเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจอยู่รอดมากยิ่งขึ้น ในตอนนี้สำหรับใครที่กำลังสนใจลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรดีเราได้มีข้อเปรียบเทียบของธุรกิจแฟรนไชส์ทั้งข้อดี และข้อเสียมาฝากแก่ทุกท่านเพื่อช่วยประกอบการพิจารณาก่อนตัดสินใจลงทุนดังเนื้อหาต่อไปนี้    

แฟรนไชส์คืออะไร

แฟรนไชส์ฟี คือ

แฟรนไชส์ (Franchise) คือ วิธีการกระจายสินค้า และบริการที่เกี่ยวข้องกับแฟรนไชส์ซอร์(Franchisor) ซึ่งถือเป็นเจ้าของสิทธิ์ หรือผู้คิดค้นธุรกิจจนได้รับเครื่องหมายทางการค้า สำหรับผู้ซื้อแฟรนไชส์ หรือที่เรารู้จักกันในนาม “แฟรนไชส์ซี (Franchisee)” จะถือเป็นผู้รับสิทธิ์ในการดำเนินธุรกิจภายใต้เครื่องหมายการค้าเดียวกันแต่ต้องจ่ายค่าตอบแทนในการใช้สิทธิ์ อาทิเช่น ค่าธรรมเนียมแรกเข้าตามเงื่อนไข และข้อตกลงของสัญญาที่ได้กระทำตกลงไว้ร่วมกัน โดยมีการจ่ายค่าตอบแทนอย่างต่อเนื่องตามสัดส่วนของผลประกอบการ (Royalty fee)  ซึ่งอาจเรียกเป็นเปอร์เซ็นต์ (Percentage) ต่อเดือน/ต่อปีตามยอดขาย หรือยอดคำสั่งซื้อ นอกจากนี้ยังมีค่าตอบแทนที่ต้องจ่ายตามสัดส่วนเพื่อทำการโปรโมตธุรกิจ และลงโฆษณา (Advertising fee) ซึ่งจะเรียกเก็บหรือไม่ขึ้นอยู่กับข้อระบุในสัญญา และอีกหนึ่งสิ่งสำคัญคือ ลักษณะธุรกิจแฟรนไชส์จะเป็นการดำเนินธุรกิจตามรูปแบบที่เจ้าของสิทธิ์กำหนด ดังนั้นการเริ่มทำแฟรนไชส์จึงควรมีความรู้ หรือมีผู้เชี่ยวชาญสำหรับปรึกษาเฉพาะด้าน อาทิเช่น นักกฎหมาย นักการตลาด นักบัญชี หรือนักวางกลยุทธ์เพื่อเข้ามามีส่วนช่วยในการดำเนินธุรกิจ และเพื่อช่วยในการรักษาสิทธิ์ของผู้ซื้อแฟรนไชส์ไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากเจ้าของสิทธิ์ตามข้อผูกมัดในสัญญาบางประการ  

ประวัติของธุรกิจแฟรนไชส์

การทําแฟรนไชส์ คือ

แนวคิดเริ่มแรกของธุรกิจแฟรนไชส์ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 เมื่อสองบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง McCormick และ I.M. Singer ได้มีการพัฒนาระบบธุรกิจ และการตลาดเกี่ยวกับเครื่องจักรเย็บผ้า (sewing machines) เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตจำนวนเครื่องจักรเย็บผ้าให้ได้ปริมาณมากยิ่งขึ้นโดยได้มีการจัดฝึกอบรมพนักงาน และอนุญาตให้พนักงานเป็นตัวแทนจำหน่ายด้วยการนำสินค้าไปขายในกลุ่มประเทศที่กำลังขยายตัวจึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจแฟรนไชส์

ต่อมาในช่วงปี 1920 – 1930 ธุรกิจอาหารที่เก่าแก่ที่สุดอย่าง A&W Food ได้มีการคิดค้น และริเริ่มธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหารจานด่วน โดยได้เปิดทำการธุรกิจแฟรนไชส์สาขาแรกในปี 1935 ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และเกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็วจนสามารถขยายสาขาไปทั่วทั้งประเทศอเมริกา และกระจายสู่ทั่วโลกมาจนถึงปัจจุบัน จากนั้นธุรกิจต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอาหาร ธุรกิจค้าปลีก หรือภาคอุตสาหกรรมเริ่มมีการเปิดตัว และเกิดการขยายตัวของแฟรนไชส์ โดยมีสาขามากกว่า 785,000 แห่งซึ่งคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 500 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีแบรนด์ที่ได้รับความนิยม และเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก อาทิเช่น McDonald’s, Taco Bell, Dairy Queen, Denny’s, Jimmy John’s Gourmet Sandwiches, Dunkin ‘ Donut, Hampton และ 7-Eleven สะท้อนให้เห็นว่ามีธุรกิจแฟรนไชส์อย่างมากมายที่ประสบความสำเร็จจนสามารถต่อยอดธุรกิจขยายสาขาต่าง ๆ ทั่วโลกได้หลายพันสาขา และยังคงมีการเปิดตัวธุรกิจแฟรนไชส์ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องในทุกปี

ประเภทธุรกิจแฟรนไชส์

ระบบแฟรนไชส์ มีความสําคัญอย่างไรต่อธุรกิจ

แม้ว่าธุรกิจแฟรนไชส์คือการกระจายสินค้า และบริการแต่ทั้งนี้ก็ได้มีการจัดแบ่งประเภทของธุรกิจแฟรนไชส์ตามลักษณะการดำเนินงาน และขนาดของธุรกิจโดยสามารถจำแนกธุรกิจแฟรนไชส์ได้เป็น 5 ประเภท ดังนี้  

  1. Job Franchise คือ ลักษณะธุรกิจขนาดเล็กสำหรับผู้ริเริ่มลงทุนเพื่อสร้างอาชีพในราคาที่ไม่สูงมากนักด้วยการซื้อสิทธิ์การลงทุนขั้นต่ำ อาทิเช่น อุปกรณ์ และวัตถุดิบ หรืออาจรวมถึงการเช่าซื้อรถจักรยานพ่วงสำหรับขับตระเวนออกขายเพื่อหากลุ่มลูกค้าตามจุดต่าง ๆ โดยไม่ต้องลงทุนเปิดหน้าร้าน
  2. Product and Brand Franchising คือ ลักษณะของแฟรนไชส์ที่ขับเคลื่อนด้วยการกระจายสินค้า หรือการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์โดยอิงกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้ค้าส่ง และตัวแทนจำหน่าย โดยอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ของเครื่องหมายทางการค้าแต่ไม่ได้ให้แฟรนไชส์ทั้งระบบ ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ที่มีขนาดใหญ่ในกลุ่มรถยนต์ หรือชิ้นส่วนประกอบรถยนต์ยี่ห้อต่าง ๆ อาทิเช่น Exxon, Texaco, Goodyear, Ford, Chrysler, John Deere หรือผู้ผลิตรายอื่น ๆ นอกจากนี้ยังรวมถึงการผลิตเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลมภายใต้แบรนด์ Coca Cola หรือ Pepsi
  3. Business Format Franchising คือ ลักษณะธุรกิจที่แฟรนไชส์ซี (Franchisee) ที่ได้รับเครื่องหมายทางการค้าจากเจ้าของสิทธิ์ (Franchisor) ทั้งระบบแต่ต้องดำเนินธุรกิจตามรูปแบบของแผนงาน และขั้นตอนที่เจ้าของสิทธิ์กำหนดตั้งแต่การฝึกอบรมไปจนถึงแผนการตลาดสนับสนุนเบื้องต้น และรวมไปถึงการลงมือกระทำอย่างต่อเนื่อง
  4. Conversion Franchising จะเป็นระบบแฟรนไชส์ที่ถูกพัฒนามาจาก Business Format Franchising ด้วยการปรับเปลี่ยนมาตรฐานให้มีการเจริญเติบโตโดยการเปลี่ยนแปลงกลุ่มธุรกิจอิสระให้เข้ามารวมเป็นอุตสาหกรรมเดียวกันเพื่อให้ได้ประโยชน์ทางการค้า การทำโฆษณา ระบบการฝึกอบรม และมาตรฐานในการบริการร่วมกันซึ่งได้แก่ กลุ่มธุรกิจโรงแรม รถเช่า จัดนำเที่ยว และการเช่า-ซื้ออสังหาริมทรัพย์   
  5. Investment Franchise เป็นการลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ในกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ อาทิเช่น โรงแรม ห้างสรรพสินค้า หรือร้านอาหารขนาดใหญ่ โดยมักลงทุนด้วยการเข้ามามีส่วนร่วมกับทีมบริหารจากเจ้าของสิทธิ์ (Franchisor) เพื่อสร้างผลกำไรในการลงทุนที่ตกลงไว้ร่วมกันยกตัวอย่างธุรกิจเช่น Mariotte, Hampton, Subway, Pizza hut และ 7-Eleven

ธุรกิจแฟรนไชส์

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการลงทุนแฟรนไชส์

อีกหนึ่งสิ่งที่ไม่ควรพลาดก่อนลงทุนซื้อแฟรนไชส์นั่นก็คือ การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการลงทุนโดยมีทั้งหมด 10 ปัจจัยที่ควรพิจารณา เมื่อต้องการเลือกซื้อธุรกิจแฟรนไชส์

  1. บันทึกข้อมูลการขาย (Proven sales record) เพื่อประโยชน์สำหรับการลงทุนด้วยการตรวจสอบสถิติย้อนหลังแสดงถึงผลกำไร และยอดขายซึ่งช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือ และเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับการลงทุนที่จะช่วยให้การประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น
  2. การเติบโตของตลาด (Growing market) ด้วยการมองถึงแนวโน้มธุรกิจ หรืออุตสาหกรรมที่กำลังเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง และมีช่องว่างให้สามารถขยายฐานการตลาดให้เติบโตได้กว้างขึ้น
  3. คู่แข่งทางการตลาด (Competition) ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มธุรกิจจำหน่ายเครื่องดื่ม ไม่ว่าจะเป็น ชา แฟรนไชส์กาแฟ หรือน้ำผลไม้ซึ่งมีการวางจำหน่ายแทบทุกพื้นที่จึงถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีการแข่งขันทางการตลาดค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับธุรกิจสปา การจัดนำเที่ยว หรือธุรกิจค้าปลีกอื่น ๆ  
  4. การดำเนินธุรกิจต่อเนื่องก่อให้เกิดการซื้ออย่างต่อเนื่อง (Repeat business) ซึ่งต้องพิจารณาถึงแฟรนไชส์ที่มีการดึงดูดกลุ่มลูกค้าให้กลับมาซื้อซ้ำ และบอกต่อลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ เพื่อให้ธุรกิจเติบโตอย่างเนื่อง และถ้าหากยังคงรักษาฐานลูกค้าได้ถึง 97 % ถือว่าเจ้าของแฟรนไชส์มีศักยภาพในการดึงดูดฐานลูกค้าที่ดีเยี่ยม
  5. เทรนด์สุขภาพ (Healthy living) มาตรฐานการใช้ชีวิตที่ต้องการมีสุขภาพที่ดีก่อให้เกิดความสมดุลทั้งร่างกาย และจิตใจซึ่งถือเป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรงถูกจับตามองเนื่องจากผู้คนหันมาใส่ใจ และดูแลสุขภาพมากยิ่งขึ้น การเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่ส่งเสริมด้านสุขภาพจึงถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าลงทุนแถมยังให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า และต่อเนื่อง  
  6. การซื้อต่อยอด (Upsell opportunities) เสนอผลิตภัณฑ์ และบริการที่มีความหลากหลายด้วยการยกระดับ และเพิ่มโอกาสให้ลูกค้าเข้าถึงได้มากยิ่งขึ้น อาทิเช่น ในส่วนของการเพิ่มบริการสปา และนวดผ่อนคลายเพื่อตอบโจทย์แก่กลุ่มลูกค้าที่เข้าพักโดยมีความต้องการบริการอื่น ๆ นอกจากสปาผิว
  7. รูปแบบธุรกิจที่ทำกำไรได้ (Profitable business model) แฟรนไชส์จะต้องมีรูปแบบขับเคลื่อนผลกำไรด้วยการสร้างธุรกิจแบบสมาชิก (Membership) ที่ได้รับการพิสูจน์มาแล้วว่าให้ผลกำไรทางธุรกิจได้ดี   
  8. ความสนใจส่วนบุคคล (Personal interest)  สิ่งที่สำคัญในการสร้างธุรกิจแฟรนไชส์คือการชื่นชอบ และหลงใหลในสิ่งที่ทำซึ่งมีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนธุรกิจให้เต็มเปี่ยมไปด้วยพลังที่จะส่งผลต่อตนเอง รวมไปถึงสมาชิกให้มีความเป็นอยู่ที่ดี และมีเสถียรภาพทางการเงิน
  9. การกำหนดจำนวนการหาลูกค้าใหม่ (New customer incentives) คือ การค้นหาวิธีดึงดูดกลุ่มลูกค้าที่ไม่สนใจในผลิตภัณฑ์ให้หันมาสนใจ และใช้บริการของผลิตภัณฑ์ซึ่งถือเป็นการขยายฐานลูกค้าให้มั่นคง และแข็งแรง
  10. ความหลากหลาย (Variety) การมีหลอดไฟมากกว่า 1 ดวงมักจะทำให้คุณมีแสงสว่างอยู่เสมอเช่นเดียวกับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์การมีสินค้าที่หลากหลายมักดีกว่าการมีสินค้าเพียงชิ้นเดียว

เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียของธุรกิจแฟรนไชส์

o   ข้อดี

  • มีเครื่องหมายทางการค้าภายใต้แบรนด์ หรือยี่ห้ออันเป็นที่รู้จัก และมีชื่อเสียงมาก่อน
  • มีระบบการช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ตั้งแต่เริ่มต้นตลอดจนการดำเนินงานทั้งแผนการดำเนินงาน การโฆษณา การตลาด และช่องทางการจัดซื้อ รวมไปถึงการให้คำปรึกษาเมื่อเกิดปัญหา หรือการเข้ามามีส่วนช่วยในการแก้ไขสถานการณ์ต่าง ๆ
  • มีระบบการควบคุมคุณภาพสินค้า (Quality) เพื่อให้สินค้า และบริการมีมาตรฐานก่อนส่งตรงถึงมือลูกค้า รวมถึงมีคู่มือสำหรับการปฏิบัติงานเพื่อช่วยในการลดขั้นตอนเมื่อเกิดปัญหา 
  • มีหนังสือสัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งกระทำไว้ร่วมกันทำให้ได้รับความสะดวกในการปฏิบัติตามข้อตกลง และการเรียกร้องสิทธิสัญญา
  • ง่ายต่อการขอความช่วยเหลือทางการเงินซึ่งอาจขึ้นอยู่กับข้อตกลง หรือตามคำแนะนำในการปฏิบัติเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินต่าง ๆ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องในการประกอบธุรกิจ
  • มีโปรแกรมในการส่งเสริมการขาย โฆษณา และทำการตลาดด้วยการดำเนินงานโดยเจ้าแฟรนไชส์
  • ช่วยลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในการเริ่มต้นธุรกิจ และมีโอกาสที่จะได้รับรายได้ หรือผลตอบแทนสูงกว่าการดำเนินธุรกิจด้วยตนเองโดยสามารถมองเห็นภาพตั้งแต่ริเริ่ม  

o   ข้อเสีย

  • ไม่มีความเป็นอิสระในการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ อาทิเช่น การเลือกวัตถุดิบ หรือการจัดซื้อซึ่งต้องเป็นไปตามข้อกำหนดจากเจ้าของสิทธิ์จึงมีส่วนในการลดโอกาสสำหรับการต่อสู้กับคู่แข่งทางการตลาด
  • ต้องซื้อสินค้าจากผู้ให้สิทธิ์ตามราคาที่ผู้ให้สิทธิ์ได้กำหนด โดยมิสามารถซื้อจากแหล่งอื่นๆซึ่งอาจจะให้ราคาที่ถูกกว่า
  • กำไรส่วนหนึ่งที่ได้จากผลประกอบการจะต้องถูกแบ่งสัดส่วนโดยคิดตามเปอร์เซ็นต์ยอดขาย หรือคำสั่งซื้อที่ระบุไว้ในเงื่อนไขของสัญญาแก่ผู้ให้สิทธิ์ตามข้อตกลง
  • ต้องมีการชำระค่าสิทธิ์ทางการค้า เครื่องหมายทางการค้า เงินมัดจำ และค่าตกแต่งที่จะทยอยเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นในแต่ละปี  
  • สำหรับผู้ให้สิทธิ์อาจขาดการติดตามในเรื่องการฝึกอบรมแก่พนักงาน
  • ข้อกำจัดในการนำสินค้า หรือบริการอื่น ๆ ที่ไม่ได้อยู่ภายใต้เครื่องหมายการค้าเดียวกันสำหรับการนำเข้ามาจำหน่าย ยกเว้นแต่ว่าผู้ให้สิทธิ์จะอนุญาต หรือยินยอม
  • เงื่อนไขบางประการในการขอรับสิทธิ์ หรือซื้อสิทธิ์ อาจจะไม่ยุติธรรมต่อผู้รับสิทธิ์

ความแตกต่างระหว่างแฟรนไชส์ และสตาร์ทอัพ

แฟรนไชส์ ข้อดี ข้อเสีย

ธุรกิจแฟรนไชส์ คือการต่อยอดความสำเร็จของแบรนด์สินค้านั้น ๆ ที่ได้กรุยทางมาแล้วทั้งชื่อเสียง ฐานลูกค้า และแผนการตลาดซึ่งถือเป็นสูตรสำเร็จที่พอมองเห็นทางได้ตั้งแต่แรกเริ่มธุรกิจ แต่สำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพ (Start-up) จะเป็นการเริ่มต้นธุรกิจด้วยตนเองใหม่ทั้งหมดซึ่งไม่ถูกจำกัดอยู่ในกรอบ ให้อิสระในการออกแบบไอเดียที่สร้างสรรค์ และพร้อมแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยตนเองซึ่งไม่ได้มีระบบช่วยเหลือเช่นเดียวกับธุรกิจแฟรนไชส์แต่ไม่ต้องนำเงินจำนวนหนึ่งมาใช้เพื่อลงทุน อีกทั้งยังสามารถระดมทุนจากผู้ที่สนใจในไอเดียเพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา และต่อยอดธุรกิจ แต่ทั้งนี้ยังพบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราความล้มเหลวของธุรกิจสตาร์ทอัพที่อยู่ในระดับสูงถึง 20% โดยไม่สามารถอยู่รอดได้ภายในปีแรก และยังพบว่ามีเพียง 30 % เท่านั้นที่สามารถดำเนินธุรกิจได้ยาวนานถึง 10 ปีซึ่ง แต่ต้องมีการพัฒนา เปลี่ยนแปลง ปรับกลยุทธ์ให้ก้าวทันสถานการณ์ และกระแสทางการตลาด รวมถึงดึงดูดกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ ให้หันมาสนใจ

จึงเล็งเห็นได้ว่าธุรกิจแฟรนไชส์นั้นมีทั้งข้อดี และข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป สำหรับใครที่ทำเพื่อหวังเพียงผลกำไรอาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายดายนัก แม้แฟรนไชส์จะเป็นธุรกิจที่มีการวางแนวทางทั้งฐานลูกค้า ชื่อเสียง แผนการตลาด หรือการโฆษณาต่าง ๆ แต่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ก็ต้องมีวินัย รู้จักพัฒนา รักษาระดับคุณภาพสินค้ารวมไปถึงต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัว และตามทันกระแสตลาดเพื่อสามารถเจาะกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ ให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบสมาชิก (Membership) ที่จะช่วยขยายฐานธุรกิจ และสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคให้เติบโตไปในทิศทางที่ดี สุดท้ายนี้ การจะก้าวไปถึงเส้นชัยของความสำเร็จไม่ใช่เรื่องยากนักหากวันนี้คุณยังรู้จักกับคำว่า“พยายาม”

ที่มา : http://www.thaismescenter.com/

10 แฟรนไชส์ดาวรุ่งพุ่งแรง ที่น่าลงทุน ที่สุดในปี 2020

มาในปี 2020 กับ 10 เฟรนไชส์ดาวรุ่งพุ่งแรงของธุรกิจ SME โดยข้อมูลของ bangkok bank sme กล่าวถึงกลุ่มธุรกิจค้าปลีกที่มีกระแสดีมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2548 และมีแนวโน้มยังคงเป็นขาขึ้นแม้ในปัจจุบันจะมีการถดถอยของเศรษฐกิจเนื่องจากการได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 แต่ก็สามารถยังพลิกโฉมบางธุรกิจเฟรนไชส์ให้กลับมาตีตลาดได้

Read More »