ทุกท่านเคยสงสัยเหมือนผมบ้างหรือเปล่าว่า หุ้น KTB กับ หุ้น KTC เป็นอะไรกัน ทำไมต้องแยกออกจากกันด้วย เพราะอะไร แล้วใครมีมูลค่าหรือรายได้สูงกว่ากัน ถ้าทุกท่านอยากรู้คำตอบเรามาเริ่มทำความรู้จักกับหุ้น2ตัวนี้กันอย่างละเอียดกันครับ

วิเคราะห์หุ้น ktb

1.KTB คือต้นตระกูลของ KTC อย่างงั้นหรอ?

ต้องย้อนกับไปตั้งแต่ปี 2509 หรือกว่า 54 ปีที่แล้ว ธนาคารกรุงไทย เริ่มเปิดดำเนินกิจการก่อตั้ง ธนาคารกรุงไทย จำกัด สาขาแรก โดยรวม 2 ธนาคาร ที่รัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในขณะนั้น ได้แก่ ธนาคารเกษตร จำกัด และธนาคารมณฑล จำกัด ต่อมาธนาคารกรุงไทยได้ เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจแห่งแรก ตั้งแต่ วันที่ 2 สิงหาคม 2532 โดยใช้ชื่อว่า “ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) Krung Thai Bank Public Company Limited” หรือ หุ้น KTB

หุ้น KTB ปันผล

เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดดทำให้การทำธุรกรรมทางการเงินของผู้ใช้บริการเริ่มเปลี่ยนไป คนส่วนใหญ่เริ่มให้ความสนใจในการใช้บัตรเครดิตมากขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งคนทั่วไปอาจจะมีบัตรเครดิตมากกว่า1ใบได้เป็นเรื่องปกติ

การเติบโตของธุรกิจบัตรเครดิตทำให้ธนาคารกรุงไทยมองเห็นช่องว่างทางธุรกิจ เนื่องด้วยธนาคารได้รับความน่าเชื่อถืออย่างมากมาจากประชาชนคนไทยอยู่แล้ว ธนาคารกรุงไทยจึงตัดสินใจระดมทุนก่อตั้งบริษัทที่ดูแลการให้บริการของบัตรเครดิตโดยเฉพาะ นั่นก็คือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ “KTC” ที่ประกอบธุรกิจบัตรเครดิต ตลอดจนธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจบัตรเครดิต ธุรกิจสินเชื่อบุคคล (Personal Loan) ธุรกิจบริการรับชำระค่าสาธารณูปโภค เป็นต้น โดย KTC ได้เข้าจดทะเบียนเป็นเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในวันที่ 28 ตุลาคม 2545 ด้วยทุนจดทะเบียนถึง 1,000 ล้านบาท โดยในปี 2561 บริษัทมีจำนวนบัญชีรวมประมาณ 3.3ล้านบัญชี ซึ่งกว่า 72% เป็นบัตรเครดิต KTC และที่เหลือเป็น KTC CASH  ซึ่ง ณ ปี 2563 ธนาคารกรุงไทย เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับหนึ่ง ได้ถือหุ้นใน KTC เป็นจำนวน 49.29% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดที่อยู่ในตลาด

“How many millionaires do you know who have become wealthy by investing in savings accounts? I rest my case.”

 – Robert G. Allen

2.แล้วสรุปเราควรลงทุนในหุ้นของใครดี?

ต้องบอกก่อนว่าทั้ง 2 บริษัทนั้น ถือแม้ว่าจะมีความใกล้ชิดผูกพันกันเหมือนญาติสนิทมิตรสหาย แต่ด้วยลักษณะของการประกอบธุรกิจแล้วนั้นค่อนข้างแต่ต่างกันอยู่มาก ธนาคารกรุงไทย หุ้น KTB ประกอบธุรกิจหลักคือธนาคาร ซึ่งได้กำไรจากส่วนต่างของดอกเบี้ยที่ได้รับและดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายมาหักลบกัน และยังมีรายได้จากทางอื่นๆเข้ามาด้วย โดยมีข้อได้เปรียบเหนือธนาคารคู่แข่งอื่นๆเพราะว่ามีโครงการต่างๆของภาครัฐบาลสนับสนุน

ยกตัวอย่างโครงการที่รัฐบาลออกนโยบาย ให้เงินช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาจากไวรัสโควิด-19 โดยการแจกเงินเยียวยาคนละ 5,000 บาท รัฐบาลไม่ได้ให้คนมารับเงินที่หน้ารัฐสภาหรือทำเนียบรัฐบาล แต่ทุกคนต้องตรวจสอบสิทธิของตัวเองผ่านเว็บของรัฐบาล และสิ่งสำคัญที่สุดคือ ทุกคนต้องเปิดบัญชีกับทางธนาคารกรุงไทยเท่านั้น

ถึงแม้ว่าบางคนอาจจะมองว่าธนาคารก็ไม่เห็นจะได้ประโยชน์อะไรจากโครงการนี้เลย แต่ถ้ามองดูระยะยาว การที่มีรัฐบาลคอยสนับสนุนอยู่ แสดงว่าธนาคารไม่จำเป็นที่จะต้องวิ่งออกไปหาลูกค้าให้มาเปิดบัญชี หรือเสียเงินเพื่อทำการโฆษณาเชิญชวนให้คนมาใช้บริการ แค่ค่าใช้จ่ายตรงนี้ธนาคารก็ประหยัดต้นทุนได้มากกว่าธนาคารคู่แข่งได้มากแล้ว

พูดมาถึงตรงนี้ทุกคนอาจจะคิดว่าธนาคารกรุงไทยคงได้เปรียบธนาคารอื่นๆเยอะแน่ๆ แต่ว่ายังมีอีกหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อผลประกอบการของธนาคาร โดยการที่ทำงานร่วมกับรัฐบาล อาจจะทำให้การดำเนินงานของบริษัทต้องเพิ่มขั้นตอนเพื่อตรวจสอบความปลอดภัยและความถูกต้องของธุรกรรมทางการเงินอย่างละเอียดกว่าธนาคารอื่นๆ เทคโนโลยีหรือแอพมือถือ Mobile Banking ที่ยังพัฒนาให้เข้ากับกลุ่มลูกค้าหลักอาจจะต้องใช้เวลาเยอะกว่าคู่แข่ง ยังไม่รวมกับผลกระทบโดยรวมจากทั้งประเทศ เช่น การประกาศลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงกับธุรกิจธนาคาร การเข้มงวดมากขึ้นของการปล่อยสินเชื่อต่างๆ

ในมุมกลับกัน KTC ไม่ต้องเจอปัญหาที่ว่านี้โดยตรงเลย

เพราะว่าการลดอัตราดอกเบี้ยของรัฐบาลไม่ได้กระทบดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากบัตรเครดิต บวกกับการที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญกับโลกการเงินในปัจจุบัน ผู้คนใช้เงินสดน้อยลง การซื้อสินค้าราคาสูงๆสามารถตัดสินใจซื้อได้ง่ายมากขึ้น เพราะว่ามีการผ่อนชำระผ่านบัตรเครดิต บางที่สามารถผ่อน 0% ได้ ตามระยะเวลาการผ่อน แถมยังมีสิทธิพิเศษให้กับผู้ถือบัตร ไม่ว่าจะเป็นการเก็บแต้มคะแนนหลังมีการใช้จ่ายซื้อสินค้า การได้รับสิทธิพิเศษเหนือระดับเฉพาะกลุ่มของสมาชิกบัตรเครดิต และอื่นๆ ไม่ว่าจะมองทางไหนก็ดูดีกว่าการใช้เงินสดในหลายๆด้าน จึงทำให้หลายๆธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตแข่งกันออกโปรโมชั่นเพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดกันอย่างดุเดือด

คนธรรมดาหนึ่งคนอาจจะมีบัตรเครดิตได้ถึง 3-4 ใบเป็นเรื่องปกติ

แต่นี่อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของจุดจบก็ได้ เพราะยิ่งปล่อยสินเชื่อบัตรเครดิตง่าย คนใช้จ่ายกันอย่างสนุกสนาน พอถึงเวลาเรียกเก็บเงินหลายคนก็เลือกที่จะชำระแบบผ่อนโดยยอมเสียดอกเบี้ยมากกว่าจะจ่ายเต็มจำนวน นี่แหละแหล่งรายได้ชั้นดีของธุรกิจบัตรเครดิต ด้วยดอกเบี้ยสุดโหด การผิดนัดชำระเพียงเล็กน้อยแต่ถ้าสะสมไปเรื่อยๆก็จะกลายเป็นหนี้ก้อนใหญ่ได้

“The man who never has money enough to pay his debts has too much of something else.”
-James Lendall Basford

ปัญหาหนี้ครัวเรือนเป็นปัญหาที่แก้ได้ยากมากที่สุด

เพราะเกิดจากพฤติกรรมของแต่ละบุคคล แต่มันได้ส่งผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศชาติอย่างมหาศาล เพราะว่ามันแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของคนในประเทศนั้นๆ นักลงทุนชาวต่างชาติคงไม่กล้าที่จะมาลงทุนในประเทศที่ประชากรกว่าครั่งประเทศเป็นหนี้อยู่แล้ว เพราะว่าการจับจ่ายใช้สอยเป็นไปอย่างยากลำบาก และในที่สุดถ้าประชาชนไม่สามารถชำระหนี้ของตนได้ ก็จะก่อให้เกิดหนี้เสีย หรือ  NPL (Non-Performing Loan) ถ้าประเทศไหนมีระดับ NPL ที่สูงก็จะเสี่ยงที่จะเจอปัญหาทางการเงินตามมา

ยกตัวอย่างในปี 2008 วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ที่ประเทศอเมริกา ส่งผลกระทบไปทั่วทั้งโลก เพราะปัจจุบันทั่วทั้งโลกถูกผูกกันผ่านสิ่งที่เรียกว่า อินเตอร์เน็ต วิกฤตครั้งนั้นเกิดจากการที่ผู้คนชาวอเมริกาผิดนัดชำระสินเชื่อบ้านกันเป็นจำนวนมากจนก่อให้เกิด Butterfly Effect ไปทั่วโลก

ราคาหุ้น KTB ย้อน หลัง

วิเคราะห์ขั้นพื้นฐาน KTB และ KTC โดยย่อ

งบการเงิน

หุ้น KTC

หุ้น KTC

หุ้น KTฺB

หุ้น  KTB
KTB งบกำไรขาดทุน

จากรายงานผลประกอบการณ์ของทั้งสองบริษัท KTB มีรายได้และสินทรัพย์สูงกว่า KTC อยู่หลายเท่าตัว แต่ว่าถ้าพูดถึงการลงทุนในหุ้นแล้วนั้น ส่วนที่สำคัญกว่ารายได้และสินทรัพย์คือ กำไรต่อหุ้น ซึ่งในส่วนนี้ KTC ทำได้ดีกว่าอยู่ที่ 0.64บาท และKTB อยู่ที่ 0.46 เนื่องจากคุมต้นทุนของบริษัทได้ดีกว่า

กราฟหุ้น

หุ้น KBANK

การจะลงทุนในหุ้นตัวใดก็ตามไม่ว่าจะหุ้น KTB หรือ หุ้น KTC ต้องดู Volume ของหุ้นนั้นๆด้วยว่ามีการซื้อขายมากน้อยแค่ไหน ถ้าVolumeน้อยเราอาจจะต้องเจอความลำบากเวลาจะซื้อขายหุ้นนั้นๆ ต่อให้บริษัทนั้นจะดีหรือน่าลงทุนแค่ไหนก็ตาม ต้องขอบอกว่า KTC เป็นหุ้นที่มีความผันผวนของราคาค่อนข้างสูง การลงทุนต้องให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ หลายครั้งที่ราคาขึ้นลงอย่างรุนแรงถึงขั้นติด Floor และ Ceiling บ่อยๆ ถ้าเราเข้าซื้อผิดจังหวะอาจจะทำให้เราขาดทุนกำไรหรือพอร์ทติดลบได้ในระยะเวลาอันสั้น แต่ถ้าเรามองภาพรวมของหุ้น ถือว่าแข็งแกร่งและสามารถถือยาวได้

PTTGC หุ้น

ความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน  

จากการวิเคราะห์พื้นฐานธุรกิจของทั้ง 2 บริษัทนี้มา ต้องบอกว่าส่วนตัวคิดว่า KTC ยังถือว่าน่าสนใจที่จะลงทุนมากกว่า KTB เนื่องจากในอนาคตอันใกล้ เทคโนโลยีจะเข้ามาก่อให้เกิด Technology Disruption ภายในอุสาหกรรมการเงินอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ย้อนกลับไปยุคสมัยก่อน มนุษย์ใช้การแลกเปลี่ยนสินค้าเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ จนมีคนคิดค้นเหรียญเงินหรือในปัจจุบันคือเงินตราที่ใช้ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนระหว่างกัน

ซึ่งในอนาคตสิ่งที่จะมาทดแทนและเปลี่ยนการใช้เงินตรา คือระบบ Digital Currency ซึ่งในขณะนี้หลายๆประเทศ โดยเฉพาะประเทศจีน ได้เริ่มพัฒนา Digital Yuan ขึ้นมาเพื่อใช้แทนธนบัตรอย่างเต็มรูปแบบแล้ว หมายความว่าในอนาคต เราไม่จำเป็นต้องไปธนาคารเพื่อฝากเงินหรือทำธุรกรรมทางการเงิน การปล่อยกู้อาจจะง่ายเพียงแค่ปลายนิ้ว เพราะข้อมูลทางการเงินทุกอย่างของเราจะถูกเก็บไว้ในระบบ Blockchain ซึ่งมีความปลอดภัยสูงกว่าระบบการจัดเก็บข้อมูลในยุคปัจจุบันมาก เมื่อวันนั้นมาถึงธนาคารหลายแห่งอาจจะล้มหายตายจากพวกเราไป เหมือนธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ หรือร้านค้าโชว์ห่วยทั่วไป เพราะไม่ว่าคุณจะทำธุรกิจมานานหลายปี ถ้าคุณไม่ปรับตัวให้ก้าวทันโลก คุณก็จะโดนทิ้งให้อยู่กับความสำเร็จในอดีตเพียงคนเดียว คนที่ปรับตัวได้เร็วก็มีโอกาสสูงที่จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในวงการธุรกิจของตัวเอง ซึ่งผมยังเชื่อว่าธุรกิจของ KTC อาจจะไม่ได้รับผลกระทบมากเท่า KTB เพราะการใช้บัตรเครดิตของคนส่วนใหญ่ยังคงให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์ หรือพูดอีกนัยนึงคือ คนเราต้องการโชว์ให้คนรอบข้างรู้ว่าบัตรที่มีนั้นพิเศษกว่าคนอื่นๆ เพราะฉะนั้นการที่คนจะยังพกบัตรเครดิตติดตัวอาจจะยังอยู่คู่พวกเราไปอีกนาน ซึ่งบริษัท KTC ก็ยังสามารถสร้างรายได้ต่อไปได้ด้วย สรุปได้ว่าเป็นหุ้นที่น่าสนใจอีกตัวหนึ่ง

If you don’t follow the stock market, you are missing some amazing drama – Mark Cubanhttp://www.marketwatch.com/

ผู้เขียน
อภิภู อัครมโนธรรม
ที่ปรึกษาการเงิน (IC, Derivative, IP, FChFP license)ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Wealth Innovation Consulting จำกัดเจ้าของเพจลงทุน Investonia