ผู้ ถือ หุ้น ntv

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าตอนนี้ประเทศไทยได้กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบแล้ว เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ของประเทศอยู่ในวัยเกษียณอายุค่อนข้างเยอะเมื่อเทียบเป็นอัตราส่วนของประชากรทั้งประเทศ จึงทำให้รัฐบาลต้องออกมาช่วยเหลือและดูแลสนับสนุนธุรกิจที่อำนวยความสะดวกให้แก่กลุ่มผู้สูงอายุมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของการรักษาตัวในรพ.ด้วยโรคภัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าใช่จ่ายในการรักษา หรือ เครื่องมือทางการแพทย์และจำนวนเตียงผู้ป่วยที่ต้องเพียงพออยู่เสมอ วันนี้เราจะไปศึกษาเกี่ยวกับ หุ้น NTV กลุ่มโรงพยาบาลกันว่าโครงสร้างรายได้ส่วนใหญ่มาจากที่ไหน

NTV คือใคร?

หุ้น NTV Pantip

หุ้น NTV หรือ บริษัท โรงพยาบาลนนทเวช จำกัด (มหาชน) เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2524 หรือ เกือบ 40 ปีมาแล้ว และถือว่าเป็นโรงพยาบาลเอกชนระดับตติยะภูมิ (Tertiary Care) แห่งแรกในจังหวัดนนทบุรี ด้วยจำนวนเตียงผู้ป่วย 208 เตียง ให้บริการรักษาพยาบาลด้วยศูนย์การแพทย์เฉพาะทางกว่า 20 สาขา บริษัทได้จดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์เมื่อปี 2537 เพื่อนำทุนที่ได้มาพัฒนาการให้บริการที่มีมาตราฐานรองรับการเข้ามาใช้บริการของชาวต่างชาติที่มีจำนวนที่เพิ่มสูงขึ้น ด้วยเหตุนี้ทำให้โรงพยาบาลนนทเวชได้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลและผ่านมาตราฐานต่างๆสำหรับภาคธุรกิจกลุ่มโรงพยาบาล

NTV ข่าว

หุ้น NTV ภาพรวมของธุรกิจโรงพยาบาลในปัจจุบัน

เนื่องจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ทั่วทั้งโลกต้องเผชิญกับสิ่งที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน นั่นก็คือจำนวนผู้ป่วยที่มีจำนวนมากพร้อมๆกัน ทำให้โรงพยาบาลต่างๆไม่สามารถให้การรักษาผู้ป่วยได้อย่างทั่วถึง จนถึงขั้นไม่ทำการรักษาผู่ป่วยที่มีอาการหนักเพื่อเอาทรัพยากรที่มีไปช่วยชีวิตคนที่มีโอกาสรอดสูงกว่า โดยที่มีบุคลากรทางการแพทย์, เครื่องมือทางการแพทย์, และจำนวนเตียงผู้ป่วย ไม่เพียงพอ ไม่ใช่เฉพาะในประเทศที่ยังไม่พัฒนาเท่านั้น เหตุการณ์นี้ทำให้เราได้รู้ว่าในประเทศที่พัฒนาแล้วต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น อังกฤษ, อิตาลี, สหรัฐอเมริกา, ญี่ปุ่น, และจีน ล้วนมีจำนวนเตียงผู้ป่วยที่ไม่พอต่อความต้องการเลยแม้แต่น้อย ยังถือว่าโชคดีที่ประเทศไทยมีจำนวนผู้ติดเชื้อที่ไม่สูงมากและสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสได้อย่างดี ทำให้การรักษาดูแลผู้ป่วยสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จากข้อมูลโรงพยาบาลขนาดใหญ่ในประเทศที่มีจำนวนเตียงมากกว่า 1,000 เตียงมีหลายแห่งด้วยกัน เช่น โรงพยาบาลศิริราช ซึ่งเป็นโรงพยาบาลหลวงแห่งแรกของไทย ก่อตั้งมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่5 ในปี 2431 มีจำนวนเตียงกว่า 1,792 เตียง และในมุมของโรงพยาบาลเอกชนเอง โรงพยาบาลในเครือของ BDMS ทั้ง 48 แห่ง ของคุณหมอ ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ได้แก่โรงพยาบาลกรุงเทพ โรงพยาบาลพญาไท โรงพยาบาลสมิตเวช นั้นมีจำนวนเตียงรวมกันถึง 8,299 เตียง ถึงแม้ว่าจะฟังดูเยอะ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรของคนไทยทั้งประเทศ ยังถือว่ามีอัตราส่วนที่ต่ำมาก จากข้อมูลมีจำนวนเตียงทั่วทั้งประเทศที่เป็นของภาครัฐบาลอยู่ที่ 122,470 เตียง คิดเป็นสัดส่วนเตียง 1.9 : 1,000 คนต่อประชากร และเมื่อรวมกับจำนวนเตียงในสถานพยาบาลภาคเอกชนจำนวน 34,602 เตียง จะมีสัดส่วนเตียง 2.4 : 1,000 คนต่อประชากร ซึ่งถือว่ายังห่างไกลจากค่าเฉลี่ยของระดับสากล เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลกับประเทศเอเชียในกลุ่ม OECD พบว่าประเทศญี่ปุ่นมีสัดส่วนเตียง อยู่ที่ 7.9 : 1,000 ประชากร ประเทศเกาหลีใต้ มีสัดส่วนเตียง อยู่ที่ 6.4 : 1,000 ประชากร ซึ่งถ้าประเทศไทยไม่ได้โชคดีเหมือนปัจจุบัน หรือ มีการระบาดรอบที่2 เหมือนในบางประเทศ ประชาชนหลายล้านคนอาจจะไม่ได้รับการรักษาอย่างทั่วถึง

NTV หุ้น

ซึ่งในอนาคตธุรกิจโรงพยาบาลยังสามารถเติบโตได้อีกมาก เนื่องจากความต้องการของการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพมีจำนวนสูงขึ้น แต่ผู้ให้บริการมีไม่เพียงพอ จึงส่งผลให้โรงพยาบาลเอกชนทั้งหลายปรับค่ารักษาพยาบาลสูงมากขึ้นทุกปี โดยมีการคิดอัตราการเฟ้อของค่ารักษาพยาบาลของไทยไว้ที่ปีละ 10.9% ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราที่สูงที่สุดในเอเชียแปซิฟิก ถ้าเป็นแบบนี้ต่อไปคนส่วนใหญ่จะไม่สามารถเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเอกชนได้เลย เนื่องจากค่ารักษาพยาบาลที่สูงเกินไป โดยลูกค้าของโรงพยาบาลเหล่านี้จะเป็นกลุ่มชาวต่างชาติที่มาจากทั้งตะวันออกกลาง ยุโรป และเอเชีย ที่เข้ามารักษาตัวในประเทศไทย เพราะว่าประเทศไทยถือว่าเป็นเป้าหมายของชาวต่างชาติ เนื่องจากมีบุคลากรทางการแพทย์ที่เก่ง เครื่องมือที่ทันสมัย บริการที่มีคุณภาพ และที่สำคัญราคาค่ารักษาพยาบาลที่ถูกเมื่อเทียบกับต่างประเทศ นี่จึงเป็นเหตุผลที่ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็น Medical Hub ของโลก และสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศได้อย่างมหาศาล

หุ้น NTV รายได้ของธุรกิจโรงพยาบาลแบ่งเป็นอะไรบ้าง?

โดยเราจะเอาข้อมูลที่เราได้มาจากรายงาน 56-1 ของบริษัทโรงพยาบาลนนทเวชในปี 2562 มาใช้ประกอบเพื่อทำความเข้าใจโดยที่โครงสร้างรายได้จำแนกตามประเภทผู้ป่วยได้แก่ผู้ป่วยนอก (OPD) มูลค่า 1.25 พันล้านบาท คิดเป็น 55.83% ผู้ป่วยใน (IPD) มูลค่า 996 ล้านบาท คิดเป็น 44.17% รวมรายได้ 2,256 ล้านบาท โครสร้างรายได้จำแนกตามประเภทการให้บริการ ค่ายาและเวชภัณฑ์ รายได้ 659 ล้านบาท คิดเป็น 29.21% ค่าธรรมเนียมแพทย์ รายได้ 513 ล้านบาท คิดเป็น 22.76% ค่าห้องและบริการ รายได้ 267 ล้านบาท คิดเป็น 11.88% ค่าเครื่องมือและอุปกรณ์แพทย์ รายได้ 263 ล้านบาท คิดเป็น 11.66% ค่าตรวจวินิจฉัย รายได้ 387 ล้านบาท คิดเป็น 17.18% อื่นๆ รายได้ 165 ล้านบาท คิดเป็น 7.32% โดยในปี 2562 มีปริมาณการให้บริการ ผู้ป่วยใน 45,745 เตียง ผู้ป่วยนอก 621,133 คน และอีกหนึ่งสิ่งที่คนทั่วไปไม่เคยรู้มาก่อนก็คือ จำนวนของขยะที่เกิดขึ้นอย่างมหาศาล แค่ในปี 2562 ปีเดียว โรงพยาบาลนนทเวชมีจำนวนน้ำหนักขยะรวมกันถึง 405,941 กิโลกรัม หรือ 405 กว่าตัน แบ่งเป็นขยะทั่วไป 259,421 กิโลกรัม และขยะอันตราย 146,520 กิโลกรัม สัดส่วนจำนวนน้ำหนักขยะต่อจำนวนผู้ป่วยคิดเป็น 0.65 กิโลกรัม/ราย แค่คิดว่าขนาดโรงพยาบาลที่มีจำนวนผู้ป่วยไม่ได้สูงมากยังมีขยะขนาดนี้ แล้วโรงพยาบาลขนาดใหญ่ทั้งของภาครัฐและเอกชนจะมีขนาดน้ำหนักขยะมากขนาดไหน ทั้งนี้ภาระหน้าที่ในการกำจัดขยะของโรงพยาบาลนนทเวชจะเป็นการดูแลของสำนักงานเทศบาลนนทบุรีที่เข้ามารับขยะไปจัดการในทุกวัน โดยจำแนกขยะอัตรายเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ขยะติดเชื้อ ขยะสารเคมี ขยะมีคม ซึ่งต้องอาศัยความชำนาญในการจัดการขยะเหล่านี้ไม่ให้เกิดมลพิษที่ส่งผลกระทบต่อประชาชมในพื้นที่ใกล้เคียงและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

งบการเงิน

ผู้ถือหุ้นนนทเวช
PR9 หุ้น

จากงบการเงินจะเห็นได้ว่าบริษัทถือครองเงินสดในช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 ไว้สูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วถึง 5 เท่าด้วยกัน ผลมาจากการที่บริษัทต้องเตรียมสภาพคล่องไว้ใช้หมุนเวียนในกิจการยามวิกฤต ถึงแม้ว่าหลายคนจะมองว่าธุรกิจโรงพยาบาลน่าจะไม่ค่อยได้รับผลกระทบกับการเจ็บป่วยของผู้คน แต่มองอีกมุมหนึ่งผู้ป่วยที่ไม่มีอาการรุนแรงจากโรคอื่นๆ ก็จะไม่กล้าเข้าไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลเนื่องจากกลัวการติดเชื้อจากผู้ป่วยไวรัสโควิด-19 อีกทั้งถ้ารพ.ไหนตรวจเจอผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19ในช่วงแรกๆ โรงพยาบาลจะถูกปิดเพื่อทำการฆ่าเชื้อโรค ซึ่งทำให้หลายๆโรงพยาบาลกลัวที่จะรับผู้ป่วยที่มีอาการของโรคนี้ จะเห็นได้จากยอดขายของช่วงไตรมาสแรกในปี 2563 ที่มีจำนวนลดลงถึง 11% ส่งผลให้กำไรสุทธิลดลงในที่สุด ใช่ว่าการที่มีจำนวนผู้ป่วยเยอะจะเป็นผลดีต่อธุรกิจโรงพยาบาลเสมอไป การที่ผู้คนเลือกที่จะรักษาตัวเองอยู่ที่บ้านและซื้อยามาทานทำให้กระทบธุรกิจโรงพยาบาลอย่างมาก เนื่องจากโรงพยาบาลมีค่าใช้จ่ายประจำที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และยังเป็นธุรกิจที่ไม่สามารถหยุดกิจการได้ทันทีในกรณีที่มีปัญหา แต่จากงบการเงินย้อนหลังถือว่าโรงพยาบาลนนทเวชทำได้ดีสม่ำเสมอ กำไรเพิ่มขึ้นทุกปี สรุปได้ว่ามีพื้นฐานทางการเงินที่แข็งแกร่งและยังสามารถเติบโตได้อีกไกล

กราฟ

NTV ปันผล

จากกราฟราคาของ หุ้น NTV จะเห็นได้ว่ากำลังอยู่ในเทรนขาลงในรอบใหญ่ตั้งแต่ที่ราคาปรับตัวลงมาต่ำกว่า 55 บาทแล้ว และยังสามารถลงได้ต่อไปอีกเรื่อยๆ ถึงแม้ว่าค่า P/E จะต่ำเมื่อเทียบกับกลุ่มอุตสาหกรรม แต่เนื่องจากเป็นหุ้นที่คนให้ความสนใจน้อย การที่จะทำราคาขึ้นไปเป็นไปได้ยาก จากจำนวนผู้ถือหุ้นรายย่อยหรือ Free Float ที่ต่ำทำให้ไม่ค่อยมาการซื้อขายเปลี่ยนมือเท่าไหร่ สังเกตได้จากปริมาณการซื้อขายของหุ้นที่ต่ำมาก ข้อมูล ณ วันที่ 24 มิ.ย.63 หุ้น NTV ปิดที่ราคา 42.75 บาท มีการซื้อขายที่จำนวน 8,200 หุ้น ซึ่งถือว่าน้อยมากสำหรับหุ้นตัวหนึ่งที่จะมีมูลค่าการซื้อขายต่อวันอยู่ที่ 350,550 บาท ด้วยเหตุนี้จึงทำให้หุ้น NTV ไม่เป็นที่ต้องการของนักลงทุนเก็งกำไรหรือคนที่เล่นระยะสั้นแน่นอน เพราะซื้อขายได้ลำบาก ต่อให้ราคาจะต่ำหรือมีโอกาสที่จะได้กำไร แต่ถ้าไม่มี Volume ก็ไม่สามารถเล่นได้ ให้ระวังไว้ว่าอย่าไปเล่นหุ้นที่ไม่มี Volume เพราะว่าคุณจะหนีไม่ได้ ยกเว้นว่าคุณจะทะยอยเก็บหุ้นไปเรื่อยๆ รอวันที่เจ้ามาลากหุ้นขึ้นไปเพื่อทำราคา จังหวะนั้นจะมีข่าวออกมามากมายและราคาจะพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้นักลงทุนหลายคนหันมาสนใจและเข้ามาลงทุน และในจังหวะนั้นคุณที่มีหุ้นที่ต้นทุนที่ดีกว่าก็จะสามารถขายออกมาเพื่อทำกำไรได้ แต่ตอนนี้ยังสรุปได้ว่ายังไม่น่าลงทุน เพราะราคายังเป็นขาลง กราฟแท่งเทียนทำ New Low ใหม่ทุกวัน MACD ตัดศูนย์ลงมาแล้วด้วย รอจังหวะใครอยากได้หุ้นตัวนี้ให้รอไปก่อนไม่ต้องรีบร้อนเพราะ Volume ไม่เยอะอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องไล่ราคา

หุ้น NTV อนาคตของกลุ่มธุรกิจโรงพยาบาล?

“Don’t waste so much time worrying about your skin or your weight. Develop what you do, what you put your hands on in the world.”  – Meryl Streep

ถึงแม้จะรู้สึกขัดแย้งในตัวเองเรื่องที่ว่า ถ้ารายได้ของกลุ่มธุรกิจโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นทุกปี แสดงว่ามีจำนวนผู้ป่วยหรือเสียชีวิตเพิ่มขึ้นสูงตามไปด้วย ที่เป็นแบบนี้เพราะว่าการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนไปบวกกับจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น ถึงแม้ว่าหลายคนจะบอกว่ามนุษย์นั้นสามารถมีอายุขัยเฉลี่ยที่นานขึ้นในอนาคตเพราะว่าเทคนิคทางการแพทย์ที่ล้ำสมัย ตัวยาที่ผลิตออกมามากมาย แต่หารู้ไม่ว่า เราอาจจะมีอายุที่ยืนยาวก็จริงแต่ไม่ได้แปลว่าเราจะมีสุขภาพที่แข็งแรงตลอดไป ยิ่งเราอายุเยอะขึ้นโรคต่างๆก็รุมเล้า เนื่องจากเซลล์ภายในมันเสื่อมตามธรรมชาติ และเราก็ยังต้องพึ่งพาหมอกับโรงพยาบาลอยู่ดี เผลอๆเราอาจจะเสียเงินให้กับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลมากกว่าเงินที่เราหามาได้ทั้งชีวิตเสียอีก

ในปัจจุบันเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญที่ช่วยในการรักษา เช่น มีการทดลองด้วยการให้ AI ทำการวิเคราะห์โรคของผู้ป่วยผ่านทางภาพสแกน X-ray และ ฟิล์ม MRI ของผู้ป่วย โดยที่ให้เวลา AI ศึกษาข้อมูลจากที่มีอยู่ในฐานข้อมูลเพียงไม่นาน ก็สามารถเอาชนะแพทย์ผู้มีประสบการณ์กว่า 50 คนได้ โดยผลลัพธ์ออกมาว่า AI สามารถวิเคราะห์ได้แม่นยำกว่า ถูกต้องกว่า รวดเร็วกว่าแพทย์อย่างมาก และยังสามารถบอกขั้นตอนการรักษาได้อย่างเหมาะสม ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ในอนาคตเราอาจจะไม่ต้องเข้าไปรพ.เพื่อขอให้แพทย์ดูอาการ เพียงแค่เราคุยกับระบบ AI ผ่านมือถือก็สามารถรู้ได้ทันทีว่าเราป่วยเป็นอะไรและควรทานยาอะไรในการรักษา ไม่แน่ว่าอนาคตบุคลากรทางการแพทย์อาจจะไม่มีความจำเป็นแล้วก็เป็นไปได้ ถ้าเป็นแบบนั้นจริงๆวงการการแพทย์ก็กำลังจะถูก Disrupt เหมือนกับวงการสื่อทั้งวิทยุโทรทัศน์ และที่กำลังเกิดขึ้นกับวงการการเงินอย่างในปัจจุบัน แต่ยังต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่าเทคโนโลยีจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงความเคยชินเก่าๆได้ ทำให้ปัจจุบันธุรกิจโรงพยาบาลเป็นที่น่าจับตามองว่าจะสามารถขยายไปได้อีกไกลแค่ไหน โดยเฉพาะกับโรงพยาบาลขนาดกลางที่มีจำนวนเตียงผู้ป่วยจำกัด ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อเสียของธุรกิจโรงพยาบาลที่ไม่สามารถเพิ่มจำนวนเตียงเพื่อรองรับกับจำนวนผู้ป่วยที่มากขึ้นได้ทันที ซึ่งหมายถึงรายได้หลักของโรงพยาบาลที่หายไป ในทางกลับกัน แทนที่จะลงทุนสร้างโรงพยาบาลขึ้นมาใหม่เลย ซึ่งต้องอาศัยทรัพยากรจำนวนมาก ทั้งเงิน ที่ดิน อุปกรณ์และบุคลากรทางการแพทย์ สู้ไปเทคโอเวอร์โรงพยาบาลอื่นมาเลยแล้ว Renovate ใหม่ ก็จะทำให้ได้จำนวนเตียงที่เพิ่มมากขึ้น ใช้เวลาน้อยลง และสามารถให้การรักษาผู้ป่วยได้ทันที ซึ่งเป็นโมเดลเดียวกันกับที่โรงพยาบาลในเครือ BDMS ทำอยู่ โดยการรวบรวมโรงพยาบาลต่างๆเข้าด้วยกัน ส่งผลให้โรงพยาบาลในเครือมีอำนาจในการต่อรองราคาสินค้าจาก Supplier ที่สูงกว่าโรงพยาบาลทั้วไป และ ยังสามารถกำหนดค่ารักษาพยายาลได้เองตามความต้องการ เนื่องจาก Monopoly ธุรกิจโรงพยาบาลไว้หมดแล้ว

SVH หุ้น

ความคิดเห็นของผู้เขียน

“The health care bill is nothing about health care- it’s about controlling the people.”
 David Lincoln

ส่วนตัวคิดว่ายังไงธุรกิจโรงพยาบาลก็ยังสามารถไปได้อีกไกล เนื่องจากเทรนการรักษาสุขภาพที่กำลังมา สังคมผู้สูงอายุ และโรคภัยไข้เจ็บต่างๆที่เข้ามา ทำให้ผู้คนยังต้องอาศัยศักยภาพของโรงพยาบาลต่อไป โดยข้อได้เปรียบของธุรกิจโรงพยาบาลคือ การกำหนดค่ารักษาพยาบาล โดยที่ผู้ป่วยไม่สามารถต่อราคาหรือขอส่วนลดได้เลย เพราะความที่มีความต้องการใช้บริการที่สูงกว่าทรัพยากรที่มี โรงพยาบาลจึงเลือกที่จะรักษาให้กับคนไข้ที่มีทุนทรัพย์มากกว่าเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ ซึ่งไม่เหมือนสมัยก่อนที่ผู้คนเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้ที่ลำบาก ถ้าเป็นแบบนั้นต้องไปโรงพยาบาลรัฐบาลที่ให้ความช่วยเหลือทุกคน ด้วยเหตุนี้จึงต้องรอคิวนานเนื่องจากมีคนมารอรับการรักษาเป็นจำนวนที่เยอะมาก ส่วนตัวผู้เขียนเวลาโรงพยาบาลของรัฐบาลจะเห็นภาพที่ผู้คนต้องมานั่งรอคิวเพื่อเข้ารักการรักษาตั้งแต่เช้า บางรายมาถึงแต่ไม่ได้รับการรักษาเนื่องจากคิวเต็มแล้ว ในทางกลับกันโรงพยาบาลเอกชนจะคอยต้อนรับคุณอย่างดีทุกอย่างมีพนักงานคอยอำนวยความสะดวกให้ แต่ก็จะแลกมากับค่ารักษาพยาบาลที่สูงมาก ในกรณีที่คุณต้องการเข้ารับการผ่าตัดฉุกเฉินทางรพ.จะให้คุณนำเงินสดมาวางไว้กับทางโรงพยาบาลก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะสามารถชำระค่ารักษาพยาบาลได้ ถ้าคุณไม่มีเงินมาวางทางโรงพยาบาลก็จะปฏิเสธการรักษา นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ประกันชีวิตและประกันสุขภาพมีความจำเป็นต่อทุกคนในทุกช่วงของชีวิตจริงๆ มีบางคนมีคำพูดที่ว่า “หมอจะรักษาคุณด้วยความสามารถและยา แต่โรงพยาบาลจะฆ่าคุณอีกครั้งด้วยบิลค่ารักษาพยาบาล” ตัวอย่างที่โด่งดังไปทั่วโลกคือ กรณีของคุณปู่ท่านหนึ่งในสหรัฐอเมริกาเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยโรคไวรัสโควิด-19 จนกลับมาหายดี พอออกจากโรงพยาบาล บิลค่ารักษาของคุณปู่ออกมาอยู่ที่ 1 ล้านเหรียญสหรัฐหรือคิดเป็น 31 ล้านบาท จนทำให้คุณปู่ถึงกลับตกใจกับค่ารักษาที่แพงมาก เรื่องนี้กำลังจะบอกเราว่า บางทีเงินเก็บทั้งชีวิตของคุณอาจจะต้องหายไปในพริบตาเพราะว่าการล้มป่วยเพียงแค่ครั้งเดียว รักษาสุขภาพกันด้วยนะครับ

ผู้เขียน อภิภู อัครมโนธรรม ที่ปรึกษาการเงิน (IC, Derivative, IP, FChFP license) ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Wealth Innovation Consulting จำกัด เจ้าของเพจลงทุน Investonia