ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ

หากกล่าวถึงคำว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เชื่อว่าทุกท่านต้องเคยได้ยินมาบ้างแล้ว แต่หากจะหากสอบถามลึกลงไปแล้ว ก็เชื่อว่าน้อยคนที่จะรู้จักความหมายของคำว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแท้จริง

อันที่จริงแล้ว ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช่สิ่งใหม่ในประเทศไทย แต่ได้มีมานานแล้วตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ.2517 ที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ในหลวงรัชกาลที่ 9) ทรงพระราชทานพระบรมราโชวาท ครั้งเมื่อในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 18 กรกฎาคม 2517 … อย่างไรก็ตาม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เริ่มเป็นที่รู้จักแก่คนไทยทั่วไปเมื่อช่วงปี พ.ศ.2541โดยทรงมีพระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2541 ซึ่งเป็นช่วงวิกฤตการเงินในเอเชีย (วิกฤตต้มยำกุ้ง)

แล้ว ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คืออะไร กล่าวถึงตรงนี้ เชื่อว่าหลายคนคงนึกถึงแต่เรื่องการเกษตรเป็นหลัก ดังที่ได้ยินบ่อย ๆ ว่า ผักสวนครัว รั้วกินได้ ซึ่งก็ถูกต้องเพียงบางส่วน อันที่จริงแล้วคำว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวคิด เป็นทฤษฎี ไม่ใช่เรื่องการเกษตรแต่อย่างใด เพียงแต่ด้วยประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ตลอดจนโครงการในพระราชดำริส่วนใหญ่เกี่ยวข้องในเรื่องการเกษตร  อีกทั้งในเรื่องการเกษตร เป็นสิ่งที่เห็นและจับต้องได้ง่าย เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน กล่าวคือการปลูกพืชผักริมรั้ว ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อวัตถุดิบในการประกอบอาหาร ซึ่งย่อมเห็นผลได้อย่างชัดเจนแค่นั้น  แต่โดยเนื้อแท้ใจในความนั้น หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำปรับใช้ได้ในทุกการดำเนินชีวิตของทุกคน ไม่ว่าจะมีฐานะความมั่งคั่งเช่นใด

ตามที่กล่าวกล่าวข้างต้นความจริงแล้ว ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวคิด เป็นทฤษฎี ดังนั้นจึงย่อมสามารถนำไปปรับใช้ทุกอย่างในการดำเนินชีวิตได้ ซึ่งแก่นแท้ของ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หากสรุปให้เห็นภาพนั้น มี 3 ห่วง 2เงื่อนไข ดังนี้

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

อธิบาย

ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ไม่มากไม่น้อยเกินไป และที่สำคัญไม่เบียดเบียนผู้อื่น และไม่เบียนเบียนตนเอง

มีเหตุผล การตัดสินใจทุกอย่างจะต้องเกิดการคิดอย่างรอบคอบ มีเหตุผล

มีภูมิคุ้มกัน การเตรียมพร้อมรับทุกความเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าด้านใดก็ตาม

เงื่อนไข

ความรู้ ในการตัดสินต่าง ๆ ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานความรู้อย่างแท้จริง สามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้ต่าง ๆ เพื่อนำมาปรับใช้จริงได้

คุณธรรม การกระทำการใด ๆ ทั้งปวง จะต้องตระหนักในคุณธรรม ซื่อสัตย์ สุจริต  สติปัญญา แบ่งปัน กล่าวโดยง่ายคือการไม่เอาเปรียบเพียงเพื่อความสำเร็จตนเอง

            เมื่อพิจารณาตามแก่นแท้ของทฤษฎีแล้วย่อมพบว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวคิด หรือทฤษฎี ในเรื่องการครองตนดำเนินชีวิตในด้านต่าง ๆ ทุกเรื่อง เพื่อให้ชีวิตมีความสุข โดยให้การรู้จักคำว่า เพียงพอ ซึ่งคำว่า เพียงพอ นี้ มิได้หมายความจะต้องประหยัดจนไม่ใช้จ่ายแต่อย่างใด แต่เป็นเรื่องการกระทำสิ่งต่าง ๆ ให้พอดีตามกำลังตัวของตน ดังพระราชดำรัสในความตอนหนึ่งว่า “เศรษฐกิจพอเพียง จะสำเร็จได้ด้วยความพอดีของตน”

Thanks for Reading

Enjoyed this post? Share it with your networks.

Leave a Feedback!