เทคนิคการบริหารเงินและการลงทุนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ



คุณมีเป้าหมายในชีวิตที่อยากทำให้สำเร็จมั้ย?

นอกจากการมองหาโอกาสในการทำงานหรือธุรกิจใหม่ๆเเล้ว การบริหารเงินก็เป็นหนึ่งในปัจจัยที่จะช่วยให้เราจัดการเงินในบัญชีของเราได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้เราขยับเข้าใกล้เป้าหมายให้สำเร็จมากขึ้นด้วยเช่นกัน

วันนี้ บลจ. พรินซิเพิล ขอแนะนำ เทคนิคการบริหารเงินอย่างมีประสิทธิภาพแบบ 6 Jar money management system ซึ่งเป็นเเนวคิดการแบ่งเงินออกเป็น 6 ส่วนสำคัญๆ คิดค้นโดยคุณ T Harv Eker ผู้เขียนหนังสือเรื่อง ถอดรหัสลับสมองเงินล้าน (Secrets of the Millionaire Mind)

เป็นขั้นตอนการสร้างวินัยทางการเงินด้วยการบริหารเงิน ทุกครั้งที่มีรายรับเข้ามา คุณต้องแบ่งเงินให้อยู่ในไห 6 ใบดังนี้


1. ค่าใช้จ่ายจำเป็นต่อการดำรงชีวิต: แบ่งไว้ 55% ของรายรับ
เช่น ค่าเช่า ค่าผ่อน ค่าอาหาร ค่าไฟ และการจ่ายบิลต่างๆ

2. ค่าใช้จ่ายเพื่อความบันเทิง: แบ่งไว้ 10% ของรายรับ
เช่น ค่าใช่จ่ายเพื่อผ่อนคลายให้กับตัวคุณเเละครอบครัว ไปเที่ยว ไปสังสรรค์กับเพื่อนๆ พบปะสังคม

3. เงินออม / ลงทุนระยะยาว: แบ่งไว้ 10% ของรายรับ
เช่น ลงทุนในหุ้น กองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ อสังหาริมทรัพย์ต่างๆ


4. เงินเพื่อพัฒนาตัวเอง: แบ่งไว้ 10% ของรายรับ
เช่น เรียนคอร์สเรียนที่คุณสนใจ หนังสือ หรืองานสัมนาต่างๆ


5. เงินสำรอง: แบ่งไว้ 10% ของรายรับ
เช่น เงินสำรองในอนาคต สำหรับเหตุฉุกเฉินเมื่อต้องใช้เงินก้อน เช่น ค่ารักษาพยาบาล


6. เงินบริจาค: แบ่งไว้ 5% ของรายรับ

ทั้งนี้ เราสามารถนำหลักการนี้มาประยุกต์ใช้เพื่อบริหารเงินให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของเราได้ตามความเหมาะสม สิ่งที่สำคัญคือการรักษาระเบียบวินัยทางการเงินให้มีเงินเก็บเพื่อใช้เพียงพอในวัยเกษียณ


ในส่วนของเงินลงทุนระยะยาว กองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้นช่วยจัดการความเสี่ยงในการมีเงินไม่พอใช้หลังเกษียณ เป็นการออมเงินในวัยทำงานเเละนำเงินนั้นมาลงทุนต่อยอดในสินทรัพย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ด้วยหลักการของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คือ เงินกองทุนสะสมจากเงินเดือนของพนักงานส่วนหนึ่งและนายจ้างสมทบให้อีกจำนวนหนึ่งทุกๆเดือน เงินก้อนนี้เปรียบเหมือนกับการบริหารเงินตามหลัก 6 Jars ที่มีการออมเพื่อวัยเกษียณนั้นเอง

และในรายละเอียดของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้น ทางบลจ.พรินซิเพิล มีแผนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พรินซิเพิล สมดุลตามอายุ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว (Target Date Retirement Fund)

เป็นแผนการลงทุนที่ง่ายสำหรับสมาชิกโดยที่ ผู้จัดการกองทุนจะเป็นผู้ดูแลและจัดพอร์ตให้สมาชิก ตั้งแต่วัยเริ่มทำงานจนวัยเกษียณ โดยจะทำการจัดพอร์ตให้เหมาะสมตามอายุ โดยที่ผู้ลงทุนไม่ต้องปวดหัวในการเลือกแผนการลงทุนเอง

1. คัดเลือกประเภทของสินทรัพย์ (Asset Class Selection) การคัดเลือกประเภทของสินทรัพย์เข้าพอร์ตการลงทุน เช่น ตราสารหนี้ ตราสารทุน ตราสารต่างประเทศ หรือ การลงทุนทางเลือก เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง เนื่องจากการลงทุนไม่ควรลงทุนในสินทรัพย์เดียว เหมือนคำพูดที่ว่า “อย่าเก็บไข่ทุกใบไว้ในตะกร้าใบเดียว”

2. จัดพอร์ตการลงทุนระยะยาว (Strategic Asset Allocation) ทีมผู้จัดการกองทุนกำหนดแผนการลงทุนให้สมาชิกตั้งแต่เริ่มทำงานจนถึงวัยเกษียณ ซึ่งเรียกว่า Glide Path เพื่อเป็นแนวทางในการปรับพอร์ตการลงทุนในระยะยาว โดยทีมผู้จัดการกองทุนจะมีการ review Glide Path นี้อย่างสม่ำเสมอ

3. ปรับกลยุทธ์การลงทุนตามสภาวะตลาด (Tactical Asset Allocation) โดยผู้จัดการกองทุนปรับเพิ่มหรือลดน้ำหนัการลงทุนในแต่ละกลุ่มหลักทรัพย์ภายในกรอบสัดส่วนการลงทุนที่กำหนด เพื่อรักษาระดับความเสี่ยงและผลตอบแทนให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ

4. สร้างวินัยการลงทุนด้วยเทคนิค Rebalancing Portfolio โดยปรับสัดส่วนการลงทุนที่เบ้ไปจาก Glide Path จากราคาตลาดหรือการปรับกลยุทธ์การลงทุนตามสภาวะตลาด (Tactical Asset Allocation) ให้กลับเข้าที่ตาม การปรับพอร์ตการลงทุนระยะยาว (Strategic Asset Allocation) เพื่อสร้างวินัยการลงทุนและเพื่อไม่ให้ port มีความเสี่ยงมากกว่าที่กำหนดไว้


ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://www.principal.th/th/provident-fund หรือโทร 02 686 9500 กด 2 

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

Thanks for Reading

Enjoyed this post? Share it with your networks.

Leave a Feedback!