หลังจากที่ กลต. เปิดโอกาสให้ บริษัทจำกัด สามารถระดมทุนโดยการเสนอขายหุ้นของตนให้แก่สารณะชนผ่าน Crowdfunding Platform ทำให้บุคคลทั่วไปอย่างเราๆสามารถทำการลงทุนขนาดเล็กๆ ในบริษัทท้องถิ่นที่เราชื่นชอบได้ แต่การลงทุนในบริษัทขนาดเล็กแบบนี้ ย่อมมีความเสี่ยงในการที่จะขาดทุนมากกว่าการลงทุนในบริษัทขนาดใหญ่ในตลาดหุ้น เนื่องจากบริษัทที่จะเข้าไปขายหุ้นในตลาดหุ้นได้นั้น เป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีมาตรฐานการบริหารที่มั่นคงมาต่อเนื่องยาวนานแล้ว บริษัทขนาดเล็กใน crowdfunding นั้น เป็นบริษัทที่พึ่งดำเนินกิจการมาไม่นาน และอำนาจต่อรองทากธุรกิจก็เทียบไม่ได้เลยกับบริษัทใหญ่

ดั้งนั้นการลงทุน crowdfunding แม้มีโอกาสท่จะให้ผลตอบแทนสูง แต่ก็เรียกได้ว่ามีความเสี่ยงอยู่ไม่น้อย

6 ข้อที่ควรรู้ก่อนเริ่มลงทุน Crowdfunding

1.จำกัดวงเงินการลงทุนของตัวเอง

เนื่องจากการลงทุนแบบ crowdfunding นั้น มีความเสี่ยงมากกว่าการลงทุนแบบอื่นๆมาก เพราะฉะนั้นเงินที่เรานำมาลงทุน ควรจะเป็นเงินที่เราสามารถที่สูญเสียมันไปได้โดยที่จะไม่กระทบกับการใช้ชีวิตปกติของเรา โดยนักให้คำปรึกษาและวางแผนทางการเงินในอเมริกาชื่อดัง Allan Moskowitz ให้คำแนะนำว่า สำหรับผู้ที่มีรายได้อยู่ในระดับปลานกลางของประเทศ ไม่ควรนำเงินออมมาลงทุนใน crowdfunding เกินกว่า 10% ของเงินเก็บ และควรจำไว้เสมอว่า เงินที่เอามาลงทุนนั้นไม่ไช่เงินที่เราจะต้องใช้ภายในปีนี้ปีหน้า แต่ต้องเป็นก้อนเงินที่เราสามารถทิ้งมันไว้ในธุรกิจนั้นๆนานๆ ได้โดยไม่กระทบต่อการเงินหลักของเรา

crowd

2.เงินลงทุนใน crowdfunding นั้น เป็นการลงทุนระยะยาว

ไม่เหมือนกับในตลาดหลักทรัพย์ตามปกติที่เมื่อเราซื้อหุ้นของบริษัทใดมาวันนั้น แล้วพรุ่งนี้เราเกิดเปลี่ยนใจ เราก็จะขายหุ้นออกไปได้เลย หรือว่าซื้อหุ้นแล้วรอสิ้นปีปฏิทินบริษัทก็จะมีการจ่ายปันผลออกมาเป็นประจำปีละครั้ง หรือหลายครั้ง แต่การซื้อหุ้น crowdfunding นั้น การซื้อขายแลกเปลี่ยนหุ้นมีความคล่องตัวน้อยมาก หากจะขายหุ้น ยังไม่มีใครสามารถระบุได้ว่าต้องใช้เวลานานเท่าไหร่ ส่วนความมั่นคงในการจ่ายเงินปันผลก็มีความเสถียรน้อยกว่าหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ใหญ่มาก เพราะฉะนั้นต้องจำไว้เสมอว่า crowdfunding เป็นการลงทุนที่ผู้ลงทนต้องมีความใจเย็นและมั่นคง และเข้าใจว่าเป็นการเข้าไปร่วมลงทุนในกิจการ ไม่ไช่การมาซื้อหุ้นเพื่อถือเก็งกำไรแล้วขายต่อเช่นในตลาดหลักทรัพย์ใหญ่

3.ควรลงทุนแบบกระจาย

อย่างที่รู้กันว่า ถ้าบริษัทจำกัดที่เราลงทุนซื้อหุ้น ตอนเปิดระดมทุนcrowdfundingไปนั้น สามารถขยายกิจการจนสามารถเข้าไปอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ใหญ่ได้ กำไรจากหุ้นที่เราซื้อมาจะต้องเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล แต่ในทางกลับกันโอกาสที่ธุรกิจนั้นจะไม่พัฒนาไปใหนเลยก็มี เพราะฉะนั้นจากการลงทุนลักษณะความเสี่ยงมากแบบนี้ เราควรจะลดความเสี่ยงโดยการลงทุนกระจายๆออกไปในหลายๆบริษัท

crowdfunding ข้อควรรู้

4.เลือกบริษัทผู้ให้บริการ crowdfunding platform ให้ดี

เนื่องจาก กลต. นั้นให้อำนาจบริษัทที่ให้บริการ crowdfunding platform มาเป็นผู้คัดเลือกว่าบริษัทใหนจึงจะมีคุณสมบัติเพียงพอที่จะเปิดเสนอขายหุ้นต่อสาธารณะชนได้ เพราะฉะนั้น บริษัทที่หวังผลกำไรจากค่าให้บริการแพลตฟอร์มมากก็จะต้องการจำนวนลูกค้าที่จะมาเปิดให้ระดมทุนมากโดยไม่ได้สนใจถึงคุณสมบัติที่แท้จริงของบริษัทว่ามีคุณภาพและความน่าเชื่อถือเพียงพอสำหรับการให้ประชาชนมาร่วมลงทุนหรือไม่ ซึ่งในต่างประเทศมีอยู่หลายบริษัทที่เหมือนมีหน้าที่แค่รับสมัครผู้อยากระดมทุน เก็บค่าบริการ แล้วมาเปิดระดมทุนเลยโดยที่แทบจะไม่ได้คัดกรอง จึงเป็นหน้าที่ของนักลงทุนอย่างเราด้วยในการระวังบริษัทที่มีพฤติการณ์เหล่านี้

วิธีการทดสอบเบื้องต้น เราควรจะถาม เจ้าหน้าที่ของผู้ให้บริการplatform เกี่ยวกับราละเอียดต่างๆ ของบริษัทที่มาลงทุนให้เยอะ หากพวกเขารู้ข้อมูลเยอะก็แปลว่าพวกเขาให้ความสนใจกับการคัดเลือกบริษัทจริง แต่หากพวกเขาไม่รู้อะไรเลย แปลว่าแทบจะไม่ได้มีการพิจารณากันมาก่อน

การจัดเก็บเงินของบริษัทผู้ให้บริการ platform ในขณะที่มีการระดมทุนอยู่ก็มีความสำคัญ เพราะหากการระดมทุนรอบนั้นไม่สำเร็จ พวกเขาจะต้องคืนเงินทั้งหมดให้กับนักลงทุนที่ได้ลงทุนไปแล้ว เราควรตรวจสอบให้ดีว่าเงินของเราจะถูกเก็บไว้อย่างปลอดภัย ไม่ไช่มีการนำเงินนั้นไปหมุนลงทุนอย่างอื่นเสียก่อน

crowdfunding stat

5.หาข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทที่จะลงทุนเองด้วย

แน่นอนว่าข้อมูลที่บริษัทผู้เปิดให้ระดมทุนให้กับเรา ต้องเป็นข้อมูลเฉพาะในด้านดีที่เขามีอยู่ แต่การจะเลือกลงทุนในบริษัทอะไรนั้น เราจะต้องรู้ข้อมูลให้รอบด้าน ถ้าให้ดีควรจะลงทุนในธุรกิจที่เราเคยใช้บริการหรือซื้อสินค้าของเค้ามาก่อน เพราะเราจะรู้แน่ว่าธุรกิจของเหล่านี้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้หรือไม่

ประวัติการศึกษาของเจ้าของบริษัทก็มีความสำคัญ หากไม่นับ Mark Zuckerberg กับ Bill gate แล้ว ผลงานวิจัยของอเมริการะบุว่า บริษัท start-up ของผู้ก่อตั้งที่มีประวัติการศึกษาที่ดีกว่า มีอัตราการเติบโตมากกว่า รวมทั้งบริษัทที่มีผู้ร่วมก่อตั้งมากกว่า 2 คนขึ้นไป อัตราการเติบโตก็สูงกว่าบริษัทที่มีผู้ก่อตั้งเพียงคนเดียวมาก

6.ต้องเข้าใจธุรกิจที่จะลงทุน อย่างน้อยต้องรู้ว่ารายได้ของบริษัทมาจากอะไรบ้าง

Allan Moskowitz ยังกล่าวต่อไปอีกว่า ความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวเลขชั่วโมงในการทำการวิเคราะห์ศึกษาบริษัทที่จะลงทุน กับ อัตราความสำเร็จจากการลงทุน นั้นมีความชัดเจนว่ายิ่งศึกษามากยิ่งประสบความสำเร็จในการลงทุนมาก การดูข้อมูลตัวเลขและพรีเซนเตชั่น เพียงผ่านๆนั้นย่อมไม่เพียงพอ

นึกไว้เสมอว่า เราต้องไม่กลัวที่จะถามเจาะลึกกับเจ้าของธุรกิจเกี่ยวกับข้อสงสัยต่างๆแม้เพียงเล็กน้อยที่เรามีต่อรายละเอียดในการดำเนินกิจการของบริษัท เพราะก่อนลงทุนเงินอยู่กับเรา แต่หลังจากลงทุนไปแล้ว ผู้บริหารเงินก่อนนั้นก็คือพวกเขานั่นเอง

statistic

reference

https://www.forbes.com

https://www.investopedia.com

https://www.entrepreneur.com/

Auther

author

Laura Shin

crypto/blockchain journalist and host of the Unchained and Unconfirmed podcasts. Working on a book about the history of the crypto space to be published by PublicAffairs/Hachette. Former senior editor of Forbes america.

crowfunder.in.th > [investingchoices.net] แปล