Equity based Funding คือการเสนอขายหุ้นของบริษัทตนเองให้แก่บุคคลทั่วไปหรือพนักงาน คู่ค้าให้หันมาเป็นผู้ร่วมลงทุนธุรกิจ ซึ่งการระดมทุนด้วยวิธีการดังกล่าวจะต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ที่จะต้องมีการคัดกรองบริษัทโดยบริษัทที่ได้รับมอบหลายจากทาง ก.ล.ต. อย่างบริษัทผู้ให้บริการ crowdfunding platform เพื่อยืนยันคุณสมบัติของ Startup และ SME ว่าถูกต้องตรงตามหลักเกณฑ์ของทาง ก.ล.ต. หรือไม่

ในขณะที่หุ้น IPO จะมีความแตกต่างจากการระดมทุนอย่าง Crowfunding เพราะทาง ก.ล.ต. จะเป็นผู้กำกับและดูแลเองความเข้มงวด โดยบริษัทที่จะนำหุ้นเข้ามาขายในตลาดหลักทรัพย์ได้นั้นจะต้องเตรียมตัวอย่างน้อย 1-2 ปี  ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยและความพร้อมของบริษัทนั้น ๆ เองด้วย ซึ่งจะมีอยู่ด้วยกัน 4 ขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้

  • การปรับโครงสร้างของบริษัท เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน มีการแต่งตั้งคณะกรรมการอิสระ คณะกรรมการตรวจสอบ กฎเกณฑ์ ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
  • การขออนุญาต จะต้องทำการยื่นแบบ Filing ซึ่งเป็นเอกสารการเปิดเผยถึงข้อมูลบริษัท รวมไปถึงการจัดเตรียมคำจดทะเบียนต่อบริษัทหลักทรัพย์
  • งบการเงิน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีงบการเงินที่น่าเชื่อถือและได้รับการลงนามรับรองจากบริษัทที่ตรวจสอบภายใต้การกำกับดูแลจากทาง ก.ล.ต. เท่านั้น บริษัทหรือสำนักงานบัญชีโดยทั่วไปจะไม่สามารถลงนามรับรองได้
  • การเสนอขาย จำเป้นอย่างยิ่งที่บริษัท IPO จำเป็นจะต้อง Roadshow เพื่อแนะนำบริษัทหรือเป็นการโฆษณาให้บุคคลทั่วไปหรือสถาบัน กองทุนทั้งในและต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนซื้อหุ้น IPO ตลอดจนการกำกับดูแลมิให้ผู้ถือหุ้นในส่วนของผู้บริหารเทขายหุ้นออกมาในวันซื้อขายวันแรก

ตารางเปรียบเทียบ

————————– หุ้น IPO Crowdfunding
ผู้เสนอขายหุ้น (Issuer) บริษัทที่มีการดำเนินกิจการมาสักระยะหนึ่งและต้องการเงินทุนเพื่อขยายกิจการ ธุรกิจ Startup หรือ SME ที่ก่อตั้งได้ไม่นานและต้องการระดมเงินทุนในปริมาณไม่มาก
  มีระบบบัญชี ระบบการบริหารจัดการภายในองค์กรที่เป็นรูปธรรม มีโครงสร้างของบริษัทที่ชัดเจน เปิดเผยข้อมูลงบการเงินต่อสาธารณะชนได้ มีมาตรฐานในการทำงาน มีแค่แผนธุรกิจและโครงการที่จะทำในอนาคต
ผู้พิจารณาคุณสมบัติ Issuer คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. Funding Portal ที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต.
หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณา ตามเกณฑ์การกำกับดูแลกิจการที่ดี ที่กำหนดโดย ก.ล.ต. อนุมัติโดยทั่วไป
การเปิดเผยข้อมูลของทางบริษัท เป็นไปตามกฎหมาย พรบ.หลักทรัพย์ ข้อมูลที่เพียงพอตามที่ FP กำหนด (ตาม guideline ของ ก.ล.ต.)
ขณะขาย หนังสือชี้ชวน ข้อมูลบริษัท หรือรายละเอียดโครงการ รายงานการใช้เงินที่ระดมทุนไป
หลังขาย แบบ 56-1 และงบการเงินที่เป็นมาตรฐานเดียวกันกับทุกบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ช่องทางการสื่อสารของ FP เช่น web board
ความเสี่ยงในการลงทุน เมื่อได้ลงทุน ความเสี่ยงน้อยกว่า ความเสี่ยงสูงและมีโอกาสที่จะสูญเสียเงินทั้งหมดที่ใช้ในการลงทุน แต่ถ้าโครงการประสบความสำเร็จก็มีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่มากมายหลายเท่าเช่นกัน
สภาพคล่อง มีตลาดรองรับ อาจจะไม่มีตลาดรองรับ
การจ่ายเงินปันผล จ่ายตามที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน จะจ่ายหรือไม่จ่ายก็ได้ขึ้นอยู่กับการระบุในหัวข้อของบริษัท

จะเห็นได้ว่าการระดมเงินทุนผ่านทาง Crowdfunding ในรูปแบบ Equity based Funding มีความเสี่ยงสูง ในขณะเดียวกันหาก Startup หรือ SME นั้นสามารถสร้างสรรค์ผลงานและโครงการจนประสบผลสำเร็จ จนบริษัทยัก์ใหญ่หรือนายทุนรายใหญ่ให้ความสำคัญก็มีโอกาสที่จะสามารถสร้างผลตอบแทนที่มากมายมหาศาลได้ด้วยเช่นกัน