Crowdfunding คืออะไร

ทั่วโลกนั้นจะแบ่ง crowdfunding หรือการระดมทุนออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ แบบหวังผลกำไร(business-based) กับ แบบไม่หวังผลกำไร(Donation-based)

Donation-based Crowdfunding

หรือการระดมทุนแบบไม่หวังผลกำไรนั้น จริงๆแล้วประเทศไทยน่าจะเป็นประเทศที่นิยมที่สุดแล้ว แต่เราเรียกการระดมทุนแบบไม่หวังผลกำไรนี้ว่า การร่วมทอดผ้าป่า ร่วมบริจาคสร้างเจดีย์ หรือการร่วมบริจาคช่วยผู้ประสบภัยต่างๆ นั่นเอง

โดยในปัจจุบัน platform ต่างๆที่ให้บริการ crowdfunding นั้น ส่วนมากก็จะมีบริการระดมทุนเพื่อช่วยเหลือสังคมแบบนี้ด้วย แต่ว่าจะอยู่ในรูปแบบการบริหารจัดการที่ชัดเจน มีผู้เชี่ยวชาญมาบริหารก้อนเงิน พร้อมกับแผนการช่วยเหลือสังคมที่ได้มาตรฐานมากกว่าการที่เราบริจาคเงินไปรวมๆกัน สร้างวัด สร้างเจดีย์ไปเรื่อยๆ โดยที่บางทีก็ไม่ได้คำนึงถึงว่า เงินจำนวนเดียวกันนี้ ถ้าบริหารให้ดีอาจจะสร้างประโยชน์ให้กับสังคมในทางอื่นได้มากกว่า

businessed-based crowdfunding

หรือการระดมทุนแบบหวังผลทางการค้านั้น ที่นิยมกันมากๆ ทั่วโลกก็จะมีอยู่ 2 ชนิด คือ แบบ equity-based และ แบบ rewards-based

equity based crowdfunding

การระดมทุนแบบนี้ก็เปรียบ ได้กับการซื้อหุ้นจากตลาดหุ้น คือเราลงไปเท่าไหร่เราก็มีส่วนในธุรกิจตามสัดส่วนของทุนรวมกับเงินที่เราได้ลงไป โดยตลาดหุ้นนั้นจะมีแต่บริษัทระดับยักษ์และราคาของหุ้นก็ผันผวนมากขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างเกินกว่าที่คนจะคาดเดาได้ แต่การลงทุนผ่าน crowdfunding platform นั้น จะเป็นในส่วนของบริษัทที่พึ่งจะเริ่มกิจการแต่อยากจะระดมเงินทุนเพื่อขยายกิจการของตนบ้างเหมือนกัน

การลงทุนแบบนี้จะเหมือนกับการซื้อหุ้น ipo ของหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งโดยทั่วๆไปแล้วหุ้นipo หรือหุ้นที่เปิดทำการขายในราคาเริ่มต้นครั้งแรกแบบนี้ คนทั่วไปอย่างเราๆจะไม่ค่อยได้มีโอกาสซื้อกับเขาเท่าไหร่เนื่องจากบริษัทโบรกเกอร์ หรือบริษัทลงทุนใหญ่ๆจะมาเหมาไปหมด และหากเราอยากซื้อก็ต้องไปซื้อในราคาที่แพงขึ้น(ซื้อต่อ) แต่ crowdfunding นั้น เปิดโอกาสให้นักลงทุนทั่วๆ ไปซื้อหุ้นจากบริษัทเล็กๆกลางๆที่อยากขยายธุรกิจของตัวเองเหล่านั้นได้โดยตรงเลย แล้วเราก็จะถือเป็นหนึ่งในหุ้นส่วนของบริษัทนั้น ซึ่งเงินที่เราลงทุนไปก็จะค่อนข้างมีผลต่อทุนรวมของบริษัททำให้เรารู้สึกถึงการเป็นเจ้าของร่วมในธุรกิจมากกว่าการซื้อหุ้น ptt cpall หรือ บริษัทที่มูลค่าของธุรกิจมหาศาลมาก และถ้าการประกอบการได้ผลดีมีกำไร เราก็ได้แบ่งอีกตามจำนวนสัดส่วนหุ้นต่อกำไร ถือว่าเป็นการหารายได้เสริมแบบ passive income ที่ดี อีกทางหนึ่ง

ส่วนผู้ที่จะมาขอระดมทุนก็มากจากบริษัทจำกัดทั่วไป ที่ทำผลกำไรได้ดีและอยากจะขยายบริษัทให้ใหญ่ขึ้นโดยต้องใช้ทุนเพิ่ม โดยต้องทำแผนการขยายกิจการมานำเสนอต่อ บริษัทผู้ให้บริการ crowdfunding platform ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับอำนาจมาจาก กลต. ในการพิจารณาว่าบริษัทที่มาขอรับการระดมทุนมีความน่าเชื่อถือเพียงพอหรือไม่ หากผ่านเกณฑ์ ผู้ให้บริการ crowdfunding platform ก็จะจัดให้บริษัทดังกล่าวเสนอขายหุ้นของตนเองต่อสาธารณะชนผ่าน platform ของตนเองได้ ซึ่งในขณะนี้ในประเทศไทยพึ่งจะมีเพียง sinwattana platform ที่ผ่านการคัดเลือกและเปิดให้บริการอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว


สินวัฒนา แพลทฟอร์ม ซึ่งทำหน้าที่คัดกรองบริษัทที่จะมาขอขยายกิจการ(แทน กลต.) เจ้าเดียวในไทยนั้น มี kwek hong sin นักธุรกิจเศรษฐีชาวสิงคโปร์, นายไชยเจริญ อติแพทย์ ประธานกรรมการ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน), นายปริญญ์ พานิชภักดิ์ หัวหน้าทีมเศรษฐกิจและรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และเป็นนักวิเคราะห์การลงทุนชื่อดัง เป็นคณะผู้บริหาร เพราะฉะนั้นอาจจะพอเชื่อได้ว่า บริษัทที่ได้รับการคัดเลือกมานั้นเป็นบริษัทที่มีแนวโน้มการเติบโตในอนาคตที่ดี

ดูรายละเอียดบริษัทที่กำลังเปิดระดมทุนอยู่ในขณะนี้

equity crowdfunding vs หุ้น IPO

เมื่อก่อนตอนที่ยังไม่มีโซเชี่ยลมีเดียร์ ยังไม่มีระบบอินเตอร์เน็ตทำให้คนจำนวนมากติดต่อกันได้ง่ายแบบนี้ ตัวเราถ้าไม่ได้อยู่ในวงการธุรกิจประกอบกิจการประเภทนั้นๆ ก็ไม่รู้หรอกว่า กิจการใหนอยากจะระดมทุนหาคนร่วมหุ้นเพื่อที่จะนำทุนไปต่อยอดธุรกิจกันบ้าง และผู้มีเงินออมอย่างเราก็ไม่รู้ว่าจะไปติดต่อขอร่วมหุ้นกับกิจการใดได้บ้าง แต่ระบบอินเตอร์เน็ตในโลกปัจจุบันนั้น ทำให้เจ้าของธุรกิจกับผู้ที่อยากลงทุนมาเจอกันได้ง่ายขึ้น

บริษัทแบบใหนถึงขอระดมทุนได้ และคนทำงานธรรมดาแต่มีเงินออมลงทุนได้หรือไม่

กฎใหญ่ๆของผู้ที่อยากนำบริษัทมารับการระดมทุนนั้นมีอยู่ไม่มาก แค่ต้องเป็นบริษัทที่จดทะเบียนแล้ว และมีแนวโน้มที่สามารถจะเติบโตได้ โดยบริษัทจะต้องจัดทำแผนการพัฒนาธุรกิจที่ชัดเจน แล้วจึงสามารถมาขอบริษัทแพลตฟอร์มให้มีการขอระดมทุนให้กับบริษัทตัวเองได้ โดยบริษัทที่ให้บริการ crowdfunding platform นั้น ทุกบริษัทได้ผ่านการคัดเลือกมาจาก กลต.(หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับการลงทุน ไม่ให้นักลงทุนรายใหญ่รายย่อย หรือบริษัทที่เปิดขายหุ้นเอาเปรียบกัน) และ กลต. จะมอบอำนาจการมีสิทธิพิจารณาคุณภาพของกิจการของผู้มาขอระดมทุน มาให้กับบริษัท crowdfunding platform หมายความว่าหากเราอยากจะได้รับการระดมทุนก็ต้องจัดการบริษัทของเราให้เข้ากับเงื่อนไขของ บริษัทให้บริการ platform เสียก่อน เพื่อปกป้องไม่ให้นักลงทุนโดนหลอกให้ระดมทุน พร้อมทั้งเป็นการให้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านธุรกิจมาปกป้องนักลงทุนอีกทางหนึ่งด้วย

5 เทคนิคการเขียน crowdfunding campaign

ส่วนผู้ที่จะร่วมระดมทุนหรือจะมาซื้อหุ้นจากบริษัทที่เปิดให้ระดมทุนเหล่านี้นั้น แบ่งได้ออกเป็นสองแบบ แบบแรกคือ กลุ่มนักลงทุนรายใหญ่ซึ่งจะเป็นบริษัทหรือเป็นนักลงทุนที่มีประวัติการลงทุนในระดับใหญ่มาก่อน หรือเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการลงทุน โดยคนกลุ่มนี้กฎหมายจะให้ซื้อหุ้นได้ในปริมาณมาก เพราะถือว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญ ส่วนคนธรรมดาๆอย่างเราๆก็ไปร่วมลงทุนได้เหมือนกัน โดนขั้นต่ำนั้นก็แล้วแต่ บริษัทที่มาขอระดมทุนกำหนด (ซึ่งส่วนมากก็จะหลักร้อยหลักพัน) แต่ว่าจะลงทุนได้ไม่เกิน 100000 บาทต่อบริษัท เหตุผลก็เนื่องจากรัฐเกรงว่านักลงทุนที่อาจจะไม่ได้เชี่ยวชาญมากอย่างพวกเรา จะมีความเสี่ยงในการลงทุนมากกว่าผู้ที่มีความชำนาญ ถ้าเสียหายจากการลงทุนก็จะได้เสียหายไม่เยอะนั่นเอง

6 ข้อควรรู้ก่อนเริ่มลงทุนใน crowdfunding

equity crowdfunding ในไทย

ประเทศไทยนั้น กลต.หรือสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พึ่งจะทำการแก้กฎหมายและอนุญาติให้บริษัทจำกัด ซึ่งไม่ไช่บริษัทมหาชน(บริษัทที่มีหุ้นขายอยู่ใสตลาดลักทรัพย์) สามารถมาขอเสนอขายหุ้นให้กับประชาชนทั่วไปได้ crowdfunding platform ในประเทศไทยนั้นจึงยังมีไม่ค่อยเยอะมากเท่าไหร่ แต่ก็เริ่มมีหลายๆบริษัทเปิดให้ระดมทุนกันแล้ว

กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรัพย์ crowdfunding

sinwattana-platform
funding

นอกจากนั้นเนื่องจาก platform เหล่านี้อยู่บนอินเตอร์เน็ต ก็ไม่ไช่เรื่องยากที่เราจะเลือกลงทุนกับธุรกิจในต่างประเทศเช่นอเมริกาหรืออังกฤษที่มี crowdfunding platform มาอย่างยาวนานแล้ว เช่นบริษัท wefunder, localStake, AlgelList, EquityNet, PeerRealty, CircleUp,Crowdfunder or Fundable

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ crowdfunding platform

rewards-based crowdfunding

การลงทุนแบบ rewards-based นี้ จะใช้กับโปรเจกหนึ่งโปรเจกใดโดยเฉพาะ ถ้าเกิดการระดมถึงเป้าและโปรเจกสำเร็จ ผู้ขอระดมทุนจะต้องทำการแจกจ่ายของรางวัลตามแพ็กเกจที่ได้ลงทุนกันไป

ตัวอย่างการระดมทุนแบบ reward-based crowdfunding

ตัวอย่างเช่น ถ้าเรามีความสามารถในการออกแบบเครื่องปริ้นขนาดเล็กแบบพกพา(กำลังระดมทุนอยู่จริงผ่าน platform indiegogo ดูตัวอย่างโปรเจกจริง) เราจะต้องนำแผนการจัดทำ ตารางการวางแผง รายละเอียดของโปรเจก หรือแม้กระทั่ง สิ่งประดิษฐ์(ตัวต้นแบบ) มานำเสนอแก่สาธารณะชนผ่านผู้ให้บริการ crowdfunding platform ได้ พร้อมกำหนดแพ็กเกจให้ผู้ที่จะมาลงทุนได้เลือกว่าต้องการแพ็กเกจผลตอบแทนแบบใหน และหลังจากระดมทุน และทำการจัดทำสิ่งประดิษฐ์นั้นเสร็จ ก็ต้องทำการจัดส่งให้แก่นักลงทุนตามที่ได้สัญญากันไว้

rewarded-base

ตัวอย่างอีกลักษณะหนึ่งของการระดมทุนแบบนี้ก็เช่น หนังสือนิยายเรื่อง space knight(อัศวินอวกาศ) ซึ่งกำลังถูกเขียนขึ้นโดยนักเขียนที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งในอเมริกา โดยนักเขียนคนนี้ถ้าเป็นสมัยก่อนนั้น ก็จะต้องไปขอพึ่งค่ายหนังสือ สำนักพิมพ์ใหญ่ๆให้ช่วยจัดพิมพ์หนังสือของตนหน่อย หากจายดีผู้เขียนก็จะได้ส่วนแบ่งกำไรมาบ้าง

แต่เนื่องจากปัจจุบันมี crowdfunding platform นักเขียนคนนี้จึงมาหาบริษัท indiegogo(อเมริกา) เพื่อขอเปิดระดมทุนจัดพิมพ์หนังสือ โดยมีโปรโมชั่นให้กับผู้มาช่วยลงทุนเป็น สินค้าแตกต่างกันไป (หนังสือเล่ม หนังสือเสียง หนังสือpdf วิดีโอเบื้องหลังการเขียน ไปจนกระทั่งโปรโมชั่นที่ผู้เขียนจะเดินทามาร่วมดื่มเบียร์ คุยกันด้วย) หากการระมทุนนั้นประสบความสำเร็จตามยอดที่ได้ตั้งเป้าไว้ ดูโปรเจกนี้เพิ่มเติม

space knight crowdfunding

ตัวอย่างของบริษัทที่ประสบความสำเร็จหลังจากระดมทุน

Kickstarter คือบริษัทสัญชาติอเมริกาที่ได้ประกอบธุรกิจให้บริการแพลตฟอร์มcrowdfunding มาอย่างยาวนาน บริษัทมากมายในอเมริกาที่ประสบความสำเร็จใหญ่โตเพราะได้มารับการขอระดมทุนจากแพลตฟอร์มดังกล่าว ตัวอย่างเช่น บริษัท Oculus VR บริษัทที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องการทำภาพและวิดีโอกราฟฟิกเสมือนจริง ได้มาขอระดมทุนเพื่อทำ แว่นตาวิดีโอเสมือนจริงหรือVR(แว่นอันใหญ่ๆใส่หัวเพื่อดูภาพที่เริ่มจะนิยมกันมากในไทยตอนนี้)สำหรับนักเล่นเกมส์โดยเฉพาะในปี 2012 ซึ่งเป้าหมายตอนแรกนั้นต้องการ 250k USD เพื่อผลิตแว่นVR แต่เนื่องจากมีผู้สนใจจำนวนมาก ทำให้ยอดการระดมจริงนั้นพุ่งขึ้นไปสูงเป็น 10 เท่า หรือราวๆ 2.4 M.USD โดยอีกแค่สองปีต่อมานั้น บริษัทfacebook ได้มาซื้อบริษัท Oscular vr ไปในราคาถึง 2300 M.USD ซึ่งหมายความว่า คนที่ร่วมลงทุนไปในการระดมทุนในปี 2012 นั้น สามารถทำกำไรได้ถึงคนละเกือบ 100 เท่าเลยทีเดียว

reference

www.forbes.com/sites/devinthorpe/2018/06/25/what-is-crowdfunding

https://www.investopedia.com/terms/c/crowdfunding.asp

https://www.thebalancesmb.com/a-guide-what-is-crowdfunding-985100

Author

MR.Devin Thorpe

Invesment banker, CFO, Treasurer, and Mortgage broker

crowfunding writer of Forbe magazine

แปลและเรียบเรียงโดย crowdfunder.in.th