
Equity based Funding คือการเสนอขายหุ้นของบริษัทตนเองให้แก่บุคคลทั่วไปหรือพนักงาน คู่ค้าให้หันมาเป็นผู้ร่วมลงทุนธุรกิจ ซึ่งการระดมทุนด้วยวิธีการดังกล่าวจะต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ที่จะต้องมีการคัดกรองบริษัทโดยบริษัทที่ได้รับมอบหลายจากทาง ก.ล.ต. อย่างบริษัทผู้ให้บริการ crowdfunding platform เพื่อยืนยันคุณสมบัติของ Startup และ SME ว่าถูกต้องตรงตามหลักเกณฑ์ของทาง ก.ล.ต. หรือไม่
ในขณะที่หุ้น IPO จะมีความแตกต่างจากการระดมทุนอย่าง Crowfunding เพราะทาง ก.ล.ต. จะเป็นผู้กำกับและดูแลเองความเข้มงวด โดยบริษัทที่จะนำหุ้นเข้ามาขายในตลาดหลักทรัพย์ได้นั้นจะต้องเตรียมตัวอย่างน้อย 1-2 ปี ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยและความพร้อมของบริษัทนั้น ๆ เองด้วย ซึ่งจะมีอยู่ด้วยกัน 4 ขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้
- การปรับโครงสร้างของบริษัท เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน มีการแต่งตั้งคณะกรรมการอิสระ คณะกรรมการตรวจสอบ กฎเกณฑ์ ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
- การขออนุญาต จะต้องทำการยื่นแบบ Filing ซึ่งเป็นเอกสารการเปิดเผยถึงข้อมูลบริษัท รวมไปถึงการจัดเตรียมคำจดทะเบียนต่อบริษัทหลักทรัพย์
- งบการเงิน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีงบการเงินที่น่าเชื่อถือและได้รับการลงนามรับรองจากบริษัทที่ตรวจสอบภายใต้การกำกับดูแลจากทาง ก.ล.ต. เท่านั้น บริษัทหรือสำนักงานบัญชีโดยทั่วไปจะไม่สามารถลงนามรับรองได้
- การเสนอขาย จำเป้นอย่างยิ่งที่บริษัท IPO จำเป็นจะต้อง Roadshow เพื่อแนะนำบริษัทหรือเป็นการโฆษณาให้บุคคลทั่วไปหรือสถาบัน กองทุนทั้งในและต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนซื้อหุ้น IPO ตลอดจนการกำกับดูแลมิให้ผู้ถือหุ้นในส่วนของผู้บริหารเทขายหุ้นออกมาในวันซื้อขายวันแรก
ตารางเปรียบเทียบ
————————– | หุ้น IPO | Crowdfunding |
ผู้เสนอขายหุ้น (Issuer) | บริษัทที่มีการดำเนินกิจการมาสักระยะหนึ่งและต้องการเงินทุนเพื่อขยายกิจการ | ธุรกิจ Startup หรือ SME ที่ก่อตั้งได้ไม่นานและต้องการระดมเงินทุนในปริมาณไม่มาก |
มีระบบบัญชี ระบบการบริหารจัดการภายในองค์กรที่เป็นรูปธรรม มีโครงสร้างของบริษัทที่ชัดเจน เปิดเผยข้อมูลงบการเงินต่อสาธารณะชนได้ มีมาตรฐานในการทำงาน | มีแค่แผนธุรกิจและโครงการที่จะทำในอนาคต | |
ผู้พิจารณาคุณสมบัติ Issuer | คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. | Funding Portal ที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. |
หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณา | ตามเกณฑ์การกำกับดูแลกิจการที่ดี ที่กำหนดโดย ก.ล.ต. | อนุมัติโดยทั่วไป |
การเปิดเผยข้อมูลของทางบริษัท | เป็นไปตามกฎหมาย พรบ.หลักทรัพย์ | ข้อมูลที่เพียงพอตามที่ FP กำหนด (ตาม guideline ของ ก.ล.ต.) |
ขณะขาย | หนังสือชี้ชวน | ข้อมูลบริษัท หรือรายละเอียดโครงการ รายงานการใช้เงินที่ระดมทุนไป |
หลังขาย | แบบ 56-1 และงบการเงินที่เป็นมาตรฐานเดียวกันกับทุกบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ | ช่องทางการสื่อสารของ FP เช่น web board |
ความเสี่ยงในการลงทุน เมื่อได้ลงทุน | ความเสี่ยงน้อยกว่า | ความเสี่ยงสูงและมีโอกาสที่จะสูญเสียเงินทั้งหมดที่ใช้ในการลงทุน แต่ถ้าโครงการประสบความสำเร็จก็มีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่มากมายหลายเท่าเช่นกัน |
สภาพคล่อง | มีตลาดรองรับ | อาจจะไม่มีตลาดรองรับ |
การจ่ายเงินปันผล | จ่ายตามที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน | จะจ่ายหรือไม่จ่ายก็ได้ขึ้นอยู่กับการระบุในหัวข้อของบริษัท |
จะเห็นได้ว่าการระดมเงินทุนผ่านทาง Crowdfunding ในรูปแบบ Equity based Funding มีความเสี่ยงสูง ในขณะเดียวกันหาก Startup หรือ SME นั้นสามารถสร้างสรรค์ผลงานและโครงการจนประสบผลสำเร็จ จนบริษัทยัก์ใหญ่หรือนายทุนรายใหญ่ให้ความสำคัญก็มีโอกาสที่จะสามารถสร้างผลตอบแทนที่มากมายมหาศาลได้ด้วยเช่นกัน