หากพูดถึงความใฝ่ฝันในการทำธุรกิจของใครหลายคน ธุรกิจร้านกาแฟถือเป็นอันดับต้น ๆ ที่ใครหลายคนอยากเก็บเงินสักก้อนเพื่อเปิดร้านกาแฟเล็ก ๆ เป็นของตนเองซึ่งเป็นที่รู้กันว่า “ร้านกาแฟ” นั้นเปิดได้ง่ายสังเกตได้จากกระแสความฮอตฮิตที่แทบทุกตรอกซอยย่านดัง ๆ จะมีร้านกาแฟเปิดแข่งกันอย่างดุเดือดซึ่งอย่าลืมว่า “บนความง่ายมักจะมีความท้าทายซ่อนอยู่เสมอ” เพราะนอกจากการตลาดที่แข่งกันสุดโหดแล้ว รสชาติ ฝีมือและคุณภาพก็ถือเป็นอาวุธสำคัญในการต่อสู้ซึ่งถ้าใครไหวรับรองได้เลยว่าผลลัพธ์นั้นหอมหวานอย่างแน่นอนโดยในปี 2560 จากศูนย์ข้อมูลวิจัยกสิกรได้เปิดเผยข้อมูลแสดงถึงตัวเลขตลาดร้านกาแฟในประเทศไทยซึ่งมีมูลค่าสูงถึง 21,220 ล้านบาทโดยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 10 และจากรายงานสถานการณ์ปีล่าสุดเกี่ยวกับตลาดกาแฟไทยในปี 2563 จากบริษัท เนสเล่ (ไทย) จำกัด พบว่ามีมูลค่าสูงถึง 60,000 ล้านบาทและที่น่าจับตามองไปกว่านั้นคือ พฤติกรรมการบริโภคกาแฟที่หันมานิยมดื่มในบ้านมากกว่านอกบ้านเนื่องจากการปรับตัวให้เข้ากับยุคโควิด อีกทั้งยังพบว่าผู้คนเริ่มหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้นจนกลายเป็นเทรนด์สุขภาพที่กำลังมาแรง หลายร้านจึงเริ่มมีการปรับกลยุทธ์ให้เข้ากับความต้องการของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้นเพื่อดึงกลุ่มลูกค้าเดิมและเพิ่มฐานลูกค้าใหม่ ๆ  ดังนั้น สำหรับท่านใดที่กำลังมองหาช่องทางหรือวางแผนจะเปิดร้านกาแฟ วันนี้เราจะขอนำทุกท่านมารู้จักกับธุรกิจแฟรนไชส์ร้านกาแฟที่นอกจากจะช่วยให้คุณสำเร็จเร็วขึ้น ยังมีทริคและเคล็ดลับดี ๆ ที่รอให้คุณมาค้นหาคำตอบไปด้วยกันอีกมากมาย อยากรู้แล้วใช่ไหม ? งั้นไปลุยกันเลย

เริ่มต้นเลือกแฟรนไชส์อย่างไรดี

ก่อนเริ่มลงทุนไม่ว่าจะเป็นธุรกิจใด ๆ ท่านควรศึกษาและเรียนรู้กลุ่มธุรกิจจากผู้ที่ประสบความสำเร็จโดยการเปรียบเทียบถึงความแตกต่างเพื่อช่วยให้เข้าใจถึงรูปแบบธุรกิจ การดำเนินงาน จุดแข็ง จุดอ่อนและกลยุทธ์ต่าง ๆ เช่นเดียวกับการยกตัวอย่างธุรกิจร้านกาแฟที่เคยความประสบความสำเร็จ ดังต่อไปนี้ 

แบรนด์/รายละเอียดAmazonDoi ChaangChaodoiMuanchonKhaothalu
เงินลงทุนเริ่มต้น 1.2-3 ล้านเริ่มต้น 3 แสนเริ่มต้น 3-4.3 แสนเริ่มต้น 4.7-8.5 แสนเริ่มต้น 5.9 หมื่น-6 แสน
สัญญา6 ปี5 ปี3 ปี
ราคาต่อแก้วเริ่มต้น 50 บาทเริ่มต้น 40 บาทเริ่มต้น 50 บาทเริ่มต้น 29 บาทเริ่มต้น 40 บาท
จุดเด่น– เจอได้ตามปั๊มปตทซึ่งเป็นปั๊มอันดับ 1 ในเมืองไทย- รายได้เติบโตมาตลอดด้วยทีมบริหารมืออาชีพอย่างปตท- มีศูนย์วิจัยและพัฒนาสูตร – มีสาขามากกว่า 2,000  สาขาทั่วประเทศ– กาแฟแบบพรีเมียมจากดอยช้างที่เดียวเท่านั้น – รสชาติกาแฟที่แตกต่าง- มีทีมงานติดตามร้านตลอด- มีสิทธิในการจัดหาพื้นที่เอง – ไม่เสียค่าแฟรนไชส์รายปี – กาแฟคั่วบดที่มีอายุมานานกว่า 60 ปี- รสชาติเข้มข้นและโดดเด่น  – ขยายสาขาไปยังต่างประเทศ- ราคาไม่เกิน 60 บาท- คืนทุนเฉลี่ยประมาณ 3 ปี- เจอได้ตามปั๊ม PT – อนุมัติวงเงินกู้ไว– ใช้เมล็ดกาแฟจากท้องถิ่นในจังหวัดชุมพร- คืนทุนประมาณ 5 – 12 เดือนขึ้นอยู่กับทำเล
แฟรนไชส์กาแฟอเมซอน
เครดิตภาพ : https://www.edtguide.com/drink/245893/cafe-amazon/reviews/reviews
แฟรนไชส์กาแฟสดชาวดอย
เครดิตภาพ : http://www.chaodoicoffee.com/en/aboutus

มารู้จักกับการวางแผนธุรกิจแฟรนไชส์กาแฟ

จากตารางเปรียบเทียบความแตกต่างของแต่ละแฟรนไชส์ข้างต้น พบว่า มีต้นทุนค่าใช้จ่ายค่อนข้างมาก อาทิเช่น ค่าแฟรนไชส์ ค่าก่อสร้าง ค่าวัตถุดิบ ค่าวัสดุ ค่าตกแต่งร้าน หรือค่าธรรมเนียมรายปี รวมไปถึงการหักส่วนแบ่งต่าง ๆ ดังนั้น การวางแผนธุรกิจจึงมีบทบาทสำคัญในการดำเนินธุรกิจให้ราบรื่นซึ่งนอกเหนือจากการควบคุมต้นทุนแล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ต้องพิจารณาจึงขอยกตัวอย่างแผนธุรกิจแฟรนไชส์เจ้าดังอย่างอเมซอนในเครือธุรกิจของปตท. ด้วยการขับเคลื่อนทางการตลาดที่สำคัญกับ 6 กลยุทธ์ควรรู้ดังต่อไปนี้ 

แฟรนไชส์กาแฟเปิ่น
เครดิตภาพ : https://www.sentangsedtee.com/exclusive/article_92043
  1. Branding

อเมซอนถือได้ว่าเป็นร้านที่มีภาพลักษณ์ของตราสินค้าที่ชัดเจน นั่นก็คือ บรรยากาศที่ร่มรื่นเหมาะกับการพักผ่อนสำหรับเหล่านักเดินทางซึ่งไม่ได้มีแค่ในปั๊มน้ำมันเพียงเท่านั้นแต่ยังกระจายไปแทบทุกสาขาทำให้กลายเป็นภาพลักษณ์ที่ดีต่อลูกค้าและง่ายต่อการจดจำ

  1. Price 

โดยราคาของเครื่องดื่มต่อแก้วจะเริ่มต้นอยู่ที่ 50 บาทซึ่งถือเป็นราคาที่บุคคลทั่วไปสามารถเอื้อมถึง หากเทียบกับคุณภาพเมล็ดกาแฟจากโรงคั่วที่ได้มาตรฐานผ่านการรับรองคุณภาพซึ่งผู้ลงทุนทุกแฟรนไชส์จะต้องผ่านการอบรมเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานและคุณภาพเดียวกัน

  1. Development 

อเมซอนไม่หยุดพัฒนาโดยได้มีการก่อตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาสูตรรูปแบบใหม่ ๆ ออกมาวางขายอยู่เป็นประจำ อีกทั้งปัจจุบันยังมีการปรับสูตรให้เข้ากับกระแสตลาดอย่างเช่น เมนูเพื่อคนรักสุขภาพนั่นเอง

  1. Strategies shop to home 

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคหันมาดื่มกาแฟในบ้านมากกว่านอกบ้าน อเมซอนจึงมีแนวคิดที่หลุดออกจากกรอบเดิมนั่นก็คือ “กาแฟดริป” หรือผงกาแฟที่สามารถนำไปดริปดื่มเองได้ทุกที่และทุกเวลาโดยไม่ต้องเดินทางมาซื้อที่ร้าน 

  1. Passion

ความหลงใหลในกลิ่นคั่วสดของเมล็ดกาแฟและรสชาติที่ถูกปากคนไทยถือเป็นอีกหนึ่งความท้าทายของอเมซอนซึ่งทางร้านใช้เวลาหลายปีในการพัฒนาเพื่อปรับสูตรให้กลมกล่อมและลงตัวจนกลายเป็นรสชาติที่ถูกปากของคนไทยมาจนถึงปัจจุบัน

  1. Reduce Risk 

ลดความเสี่ยงด้วยการให้ผู้ลงทุนบริหารเองแต่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลให้เป็นไปตามมาตรฐานของปตท. ซึ่งให้ผลลัพธ์ที่ดีเนื่องจากธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วและก่อนจะมีการลงทุนเปิดสาขาใหม่จะต้องมีการพิจารณาเพื่อไม่ให้กระทบกับสาขาเดิมจึงถือเป็นอีกหนึ่งจุดที่ช่วยบริหารจัดการความเสี่ยงได้เป็นอย่างดี  

จะเห็นได้ว่าทั้ง 6 กลยุทธ์ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองต่อผู้บริโภคเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ลงทุนด้วยเช่นกันจึงสะท้อนให้เห็นว่าธุรกิจจะเติบโตได้ดีก็ต่อเมื่อมีการพัฒนาทุกด้านควบคู่กันภายใต้การกำกับดูแลและติดตามอย่างสม่ำเสมอโดยเจ้าของแฟรนไชส์ 

คืนทุนได้ไวกำไรงดงาม

เมื่อลงทุนแล้วทุกท่านก็คงคาดหวังถึงผลตอบแทนแต่ก็คงทราบกันดีว่าแต่ละธุรกิจมีระยะเวลาคืนทุนที่ไม่เท่ากันเนื่องจากขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยทั้งเงินลงทุน ทำเล ยอดขายและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อีกมากมายซึ่งบางรายก็ต้องปิดตัวลงก่อนได้ทุนคืน ดังนั้นจะทำอย่างไรถึงจะคืนทุนไวและยังได้กำไรที่งดงามกับ “Trick of the trade

แฟรนไชส์กาแฟสด coffee today
เครดิตภาพ : `https://www.sentangsedtee.com/career-channel/article_100302

โดยขอยกตัวอย่างคำถามเพื่อประโยชน์สำหรับท่านที่กำลังศึกษาและลงทุนเกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์ร้านกาแฟ

Q1: ความสามารถในการหารายได้มีกี่ทาง ?

A1: โดยส่วนใหญ่จะมี 2 ทางคือเมนูเครื่องดื่มและขนมที่นำมาจำหน่ายในกรณีที่เจ้าของแบรนด์ไม่ได้ห้ามแต่ต้องไม่กระทบกับความสามารถในการจำหน่ายสินค้าหลักอย่างกาแฟ โดยพบว่าการมีหลายช่องทางจะยิ่งช่วยคืนทุนในระยะเวลาที่เร็วขึ้นแต่ก็ขึ้นอยู่กับต้นทุนและการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ  

Q2: ต้นทุนและกำไรจากการขายต่อหน่วยประเภทสินค้าเท่าไร ?

A2: ถ้าคุณขายของที่ได้กำไรเยอะกว่า อาทิเช่น น้ำปั่นผลไม้จะมีกำไรสูงกว่ากาแฟ กาแฟร้อนจะให้กำไรมากกว่ากาแฟเย็นและเมนูปั่นคือเมนูที่ต้องใช้เวลาในการทำนานที่สุดซึ่งอาจจะเสียโอกาสในการขายเมนูอื่น ๆ ดังนั้น ถ้าคุณขายของที่กำไรเยอะกว่าจะได้เม็ดเงินมากกว่าอีกประเภทที่มีจำนวนยอดขายต่อแก้วเท่ากันจึงควรมีการบริหารจัดการราคาและระยะเวลาที่ใช้อย่างเหมาะสม 

Q3: ต้องอ่านเงื่อนไขในข้อสัญญาอย่างระมัดระวัง ?

A3: เนื่องจากแต่ละแฟรนไชน์จะมีการระบุเรื่องการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมรายปี การหักส่วนแบ่งจากยอดขาย ค่าลงทุนแฟรนไชส์ ค่าการก่อสร้างและค่าบริการเสริมอื่น ๆ รวมถึงค่าใช้จ่ายคงที่ และค่าโฆษณาที่ไม่เท่ากัน ดังนั้น จึงควรทำการศึกษาอย่างละเอียดโดยการคิดต้นทุนคร่าว ๆ เพื่อประเมินและคาดการณ์ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า 6 เดือนว่าร้านจะอยู่ไหวหรือไม่ นอกจากนี้ยังพบว่าบางเงื่อนไขระบุให้รีโนเวทร้านทุก 3 ปีซึ่งบางอุปกรณ์ยังไม่ได้สึกหรอแต่ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมแถมยังไม่แน่ใจว่าได้ทุนคืนจากการลงทุนครั้งแรกหรือยังจึงควรระมัดระวังเงื่อนไขไม่เหมาะสมบางประการในสัญญา

Q4: ความสำคัญของการคำนวน ROI หรือ Return on Investment ?

A4: โดยวิธีการคิดว่าใช้เวลาเท่าไรถึงจะได้ทุนคืนด้วยวิธีการคิดแบบง่าย ๆ คือ 

กำไรสุทธิ x จำนวนแก้วต่อวัน x ราคาเฉลี่ยต่อแก้ว

Ex. นาย ก ลงทุนเปิดร้านกาแฟด้วยงบ 1.5 ล้านบาท โดยได้กำไรสุทธิ 20%  x  250 แก้วต่อวัน x ราคาแก้วละ 50 บาทจะเท่ากับ 20% x 250 x  26 วัน (หยุดอาทิตย์ละวัน) x  50 บาท = 65,000 บาทต่อเดือน แล้วนำเงินทุนทั้งหมดมาหารกับกำไรต่อเดือนจะเท่ากับ 1,500,000/65,000 = 23.07 เดือนซึ่งจะใช้เวลาในการคืนทุนประมาณ 2 ปี

ดังนั้น ก่อนทำการลงทุนใด ๆ ควรทำการศึกษาและวางแผนธุรกิจโดยอาจจะขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ เช่น นักกฎหมาย นักวางแผนกลยุทธ์ นักบัญชี หรือนักการตลาดเพื่อเข้ามามีส่วนช่วยในการดำเนินงาน ควบคุมต้นทุน และเพื่อไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากเงื่อนไขบางประการในสัญญา

สรุปภาพรวมที่น่าสนใจในการลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์กาแฟ

แม้จะเป็นธุรกิจที่มีติดอันดับกระแสทางการตลาดที่มีจำนวนร้านเติบโตเพิ่มขึ้นแทบทุกปีแต่ก็มีจำนวนมิใช่น้อยที่ต้องปิดตัวลง ดังนั้น ควรจะพิจารณาถึงข้อดีและข้อเสียก่อนตัดสินใจลงทุนเกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์ร้านกาแฟ 

ข้อดี 

  • มีตัวอย่างการดำเนินงานและแบบแผนธุรกิจที่มีสูตรสำเร็จให้แล้ว 
  • เป็นธุรกิจที่ติดกระแสนิยมในตลาดซึ่งมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
  • สามารถตั้งราคาได้ค่อนข้างสูงในบางเมนูที่มีการเพิ่มลูกเล่นเข้ามา อาทิเช่น กาแฟส้มยูซุ กาแฟมิ้นต์ หรือกาแฟแบลคเชอร์รี่ที่มีการนำมาดัดแปลงสูตรหรือส่วนผสมให้ดูน่าสนใจและสามารถอัพราคาจากการใช้วัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นได้แก้วละ 10 – 30 บาท 
  • มีทีมคอยให้คำปรึกษา ฝึกอบรม ทำการตลาดและติดตามตลอดการดำเนินธุรกิจจึงไม่ต้องแก้ปัญหาบางอย่างเพียงลำพัง
  • สร้างความมั่นใจเนื่องจากผลิตภัณฑ์ทุกตัวต้องผ่านการทดสอบคุณภาพและได้มาตรฐานโดยเจ้าของแฟรนไชส์ 

ข้อเสีย 

  • ค่าลงทุนวัตถุดิบและอุปกรณ์ที่ค่อนข้างสูงทั้งเครื่องชงกาแฟ เมล็ดกาแฟจากแหล่งต่าง ๆ ซึ่งราคาแต่ละสายพันธุ์ก็ไม่เท่ากัน 
  • คู่แข่งทางการตลาดค่อนดุเดือด ร้านจึงต้องมีการพัฒนาและปรับกลยุทธ์ให้เข้ากับสถานการณ์อยู่เสมออ 
  • ข้อจำกัดเรื่องผลิตภัณฑ์ที่ต้องซื้อจากเจ้าของแฟรนไชส์ซึ่งไม่สามารถรับมาจากแหล่งอื่นเพื่อมาจำหน่ายได้
  • ต้องมีเงินก้อนสำหรับลงทุนเบื้องต้นไม่สามารถหากลุ่มผู้ร่วมลงทุนเหมือนกับธุรกิจสตาร์ทอัพ
  • ต้องจ่ายค่าธรรมเนียม ค่าลิขสิทธิ์ การหักเปอร์เซ็นกำไรตามผลประกอบการและค่าบริการอื่น ๆ ตามตกลงไว้ในสัญญา
  • ไม่มีอิสระในการบริหารเนื่องจากต้องถูกควบคุมและกำหนดทิศทางโดยเจ้าของแฟรนไชส์

จึงถือได้ว่าค่อนข้างท้าทายสำหรับผู้เริ่มลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ร้านกาแฟเนื่องจากจำนวนคู่แข่งที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน ความดุเดือดในการทำการตลาด พฤติกรรมผู้บริโภคและนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เข้ามา ถึงแม้จะมีทีมสนับสนุนและให้คอยคำปรึกษาในการบริหารงานแต่ผู้ลงทุนเองควรต้องเริ่มมาจากความชอบและมีความตั้งใจในการเปิดธุรกิจเพราะจะช่วยสร้างพลังขับเคลื่อนให้ก้าวไปข้างหน้าแม้เจออุปสรรค และสิ่งที่สำคัญที่สุดนอกจากผลกำไร คือวันนี้คุณกล้าที่เริ่มต้นความสำเร็จด้วยตนเองซึ่งเราขอเป็นกำลังให้ใจสำหรับผู้เริ่มลงทุนมือใหม่ทุกท่าน 

 

เปรียบเทียบแฟรนไชส์กาแฟ
เครดิตภาพ : https://www.sentangsedtee.com/career-channel/article_94780

reference

  • -http://www.cafe-amazon.com/Document/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99.pdf
  • -https://www.trickofthetrade.co.th/article_detail.aspx?arc_id=117

Author

investingchoices blogger