เรื่องราวพื้นฐานที่น่ารู้ของ ตลาดหลักทรัพย์ หรือตลาดหุ้น

ตลาดหุ้น

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือตลาดหุ้น (Stock exchange of Thailand) เป็นศูนย์กลางเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ถูกตั้งขึ้นโดย พรบ.ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2517 โดยภายหลังได้มีการแก้ใขกฎหมาย ทำให้การดำเนินการของตลาดหุ้นนั้นอยู่ภายใต้ พรบ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 แทน และในกฎหมายดังกล่าวยังกำหนดให้มีหน่วยงานควบคุมดูแลตลาดหลักทรัพย์และบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์คือหน่วยงานที่เรียกกันย่อๆว่า กลต. (สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์)

ตลาดหลักทรัพย์

หมายความว่าบริษัทต่างๆที่สามารถประกาศขายหุ้นของตนเองให้กับบุคคลภายนอกได้ (หรือที่เรียกว่าบริษัทมหาชน) จะไม่ได้มีอิสระในการบริหารและดำเนินธุรกิจเหมือนกับบริษัทธรรมดาที่ไม่ได้อยู่ในตลาดหุ้น แต่การบริหารบริษัทรวมถึงการจัดการงบประมาณต่างๆต้องทำอย่างเปิดเผย และหากมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นในบริษัท เช่น บริษัทประสบความเสียหายอย่างรุนแรง เปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการ หรือกรณีอื่นๆที่จะกระทบต่อราคาหุ้น จะต้องรายงานเหตุแก่ กลต. เพื่อที่จะได้แจ้งให้ประชาชนได้ทราบต่อไป นอกจากนี้ยังมีเงื่อนใขอื่นอีกมากมายที่บังคับให้บริษัทมหาชนปฏิบัติ เพราะฉะนั้นประชาชนอย่างพวกเราสามารถมั่นใจได้ว่าการซื้อหุ้นหรือการลงทุนที่ดีกับบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งปะเทศไทยนั้นมีความปลอดภัย และยุติธรรมกับผู้ลงทุนอย่างเราแน่นอน

คำว่า “หลักทรัพย์” ที่ทำการซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์นั้นคนทั่วๆไปจะนึกถึงแต่หุ้นอย่างเดียวแต่หลักทรัพย์ที่สามารถซื้อขายกันได้นั้นมีอีกหลายชนิดมากเช่น

ตั๋วเงินคลังหรือพันธบัตรรัฐบาล หมายถึง เอกสารสัญญาที่รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังจะมอบให้แก่ผู้ซื้อ และเราสามารถเอาไปขายกลับให้แก่รัฐได้โดยจะได้ดอกเบี้ย (เป็นวิธีการที่รัฐกู้เงินจากประชาชนเพื่อเอาไปบริหารงานต่างๆของภาครัฐ)

หุ้นกู้ หมายถึง เอกสารสัญญาที่คล้ายกับพันธบัตรรัฐบาลแต่เป็นการที่บริษัทเอกชนออกมาให้นักลงทุนได้ซื้อไป โดยจะมีส่วนต่างให้ตอนขายคืนเช่นกัน ( ที่เรียกว่าหุ้นกู้ เพราะว่าบริษัทจะแบ่งยอดเงินที่ต้องการจะกู้ออกเป็นส่วนๆเช่น ถ้าต้องการเงิน 100 ล้านบาท อาจจะออกหุ้นกู้ 1 ล้านหุ้น หุ้นละ 10 บาท เป็นต้น )

โดยหลักทรัพย์ลักษณะแบบพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้นี้เราจะเรีบกกันว่าตราสารหนี้ แต่หุ้นทั่วๆไปนั้น เราจะเรียกกันว่าตราสารทุน

นอกจากนั้นยังใบสำคัญเอกสารแสดงสิทธิอีกอย่างที่เรียกว่า อนุพันธ์ หรือ วอแรนท์(warrant) หมายถึงเอกสารแสดงสิทธิในการที่จะให้นักลงทุนมีสิทธิทำอะไรต่างๆ เช่น ให้สิทธิในการซื้อหุ้นเมื่อจะมีการออกหุ้นเพิ่มเติม(คล้ายๆกับสิทธิการจอง) โดยวอแรนท์พวกนี้ก็สามารถนำมาซื้อขายกันได้ในตลาดหลักทรัพย์

ตลาดหลักทรัพย์

ตลาดหลักทรัพย์ถือได้ว่าเป็นตลาดรอง( Secondary Market ) โดยถ้าจะเอาให้เข้าใจอย่างดีสุดนั้นผู้อ่านอาจจะต้องกลับไปอ่านบทความก่อนหน้าเพื่อทำความเข้าใจการเกิดขึ้นมาของหุ้นก่อน แต่ที่จะเล่าตรงนี้สั้นๆก็คือ เมื่อบริษัทที่จะขายหุ้นให้แก่ประชาชนได้รับอนุญาตจาก กลต.ให้นำหุ้นออกขายแล้วหุ้นนั้นไม่ได้เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์เลยโดยตรง แต่จะต้องมีการขายครั้งแรกก่อน โดยคนจะเรียกการขายครั้งแรกนี้ว่า IPO หรือ Initial Public Offering (ตลาดแรก) ซึ่งผู้ที่จะซื้อต้องเข้าไปซื้อโดยตรงกับบริษัทที่ขายหุ้น จากนั้นผู้ที่ซื้อหุ้นโดยตรงมาจากบริษัทถึงจะนำหุ้นมาขายต่อกันที่ตลาดหลักทรัพย์หรือตลาดรอง

เป็นเรื่องที่ต้องยอมรับว่าพวกโบรกเกอร์หรือบริษัทนายหน้าค้าหุ้นต่างๆนั้นมีต้นทุนมากและมีช่องทางการนำหุ้นไปขายต่อมาก จึงทำให้มีอำนาจต่อรองกับบริษัทที่นำหุ้นออกมาขายครั้งแรก โดยธรรมเนียมการปฏิบัติในไทยเรานี้ หุ้น ipo ส่วนหนึ่งจะถูกขายให้พนักงานหรือบุคคลภายในบริษัทที่ต้องการซื้อ และส่วนที่เหลือ บริษัทโบรกเกอร์ใหญ่ๆจะร่วมกันเหมาหุ้นมาเลยทีเดียวจากนั้นค่อยนำมาขายในตลาดรองอย่างตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งก้เป็นสิทธิของบริษัทที่ต้องการขายหุ้นให้ทำได้ ส่วนราคาขายครั้งแรกนี้ นักลงทุนจะเรียกกันย่อๆว่า ราคาIPO ( ซึ่งจะแตกต่างจากราคาพาร์นะครับ ราคาพาร์คือราคาที่เอาทุนจดทะเบียนของบริษัทหารด้วยจำนวนหุ้นของบริษัททั้งหมด )( ราคาพาร์นั้นบอกอะไรไม่ค่อยได้มาก )

การจะซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์นั้นกฎหมายกำหนดให้จะต้องทำผ่านโบรกเกอร์ เนื่องจากการจะซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ที่เรากดซื้อกดขายกันผ่านคอมพิวเตอร์บ้าง มือถือบ้างนั้น มันยังมีเรื่องของเอกสารสัญญาต่างๆเบื้องหลังที่เราไม่ค่อยได้ให้ความสนใจ เราก็เพียงเห็นแต่ว่ากดปุ้บ หุ้นก็เข้ามาอยู่ในพอร์ตเราเลย ในส่วนของเอกสารต่างๆหรือการดีลซื้อขายหุ้นนี่แหละ ที่เป็นหน้าที่ ที่โบรกเกอร์จัดการดำเนินความสะดวกให้เรา เพราะฉะนั้นการที่เราจะเริ่มลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ก็จะต้องไปสมัครสมาชิกกับโบรกเกอร์ก่อน โดยในปัจจุบันสามารถทำได้ง่ายมากๆ ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต โดยที่ตัวเราไม่ต้องไปธนาคาร หรือไปที่บริษัทโบรกเกอร์เลย

การซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ก็จะเป็นไปอย่างอิสระ หากเราสนใจหุ้นตัวใดก็สามารถกดข้อมูลขึ้นมาดูได้ จะมีรายละเอียดบอกคือ ตอนนี้มีคนเสนอซื้อหุ้นตัวนี้อยู่ในราคาเท่าไหร่ จำนวนเท่าไหร่ และมีคนเสนอซื้ออยู่ในราคาเท่าไหร่ จำนวนเท่าไหร่ เช่นกัน โดยราคาของสองฝั่งนี้จะไม่เท่ากัน เนื่องจากถ้ามันเท่ากันเมื่อไหร่ ตลาดหุ้นก็จะจับคู่ระหว่างคนเสนอซื้อกับเสนอขายนั้นเพื่อซื้อขายกัน

ตัวอย่างหน้าต่างหุ้น
ตัวอย่างหน้าต่างซื้อขายหุ้น

ในภาพจะบอกได้ว่า หุ้น CPALL นั้น ปัจจุบันมี

คนเสนอซื้อที่ราคา 81.00 อยู่จำนวน 94000 หุ้น ที่ราคา 80.75 อยู่จำนวน 954,400 หุ้น

คนเสนอขายที่ราคา 81.25 อยู่จำนวน 930,900 หุ้น ที่ราคา 81.50 อยู่จำนวน 1136400 หุ้น

โดยถ้าเราต้องกดซื้อแล้วได้เลย แน่นอนว่าเราต้องเสนอซื้อที่ราคา 81.25 บาท ไม่เกิน 930900 หุ้น

คำเสนอซื้อของเราก็จะไปจับคู่กับกองที่เสนอขายอยู่พอดี

ตลาดหลักทรัพย์นั้นไม่ได้แต่เฉพาะตลาด SET หรือ Stock Exchange of Thailand อย่างเดียว

ยังมีตลาด

MAI หรือ Market for Alternative Investment หรือเรียกกันว่าตลาดใหม่

TFEX หรือ Thailand Fufure Exchange หรือทีเฟ็ก

Bex หรือ Bond Erectronic Exchange

โดย

SET นั้นจะเป็นการซื้อขายหุ้นของบริษัทขนาดใหญ่

MAI จะเป็นหุ้นของบริษัทขนาดรองลงมา

TFEX เป็นตลาดของพวก อนุพันธ์หุ้น

Bex จะเป็นตลาดซื้อขายตราสารหนี้

ข้อที่ควรรู้อีกอย่างก็คือใน SET นั้น จะมีการแบ่งกลุ่มเพื่อเก็บและแสดงสถิติแยกกับภาพรวม เช่น กลุ่ม SET50 (บริษัทที่มีขนาดใหญ่ 50 อันดับแรก) SET100 (บริษัทที่มีขนาดใหญ่ 100 อันดับแรก)

ซึ่งบริษัทพวกนี้แหละที่เป็นที่นิยมในการซื้อขายและราคาของบริษัทพวกนี้มีผลอย่างยิ่งต่อดัชนีดดยรวมของราคาตลาดหุ้นทั้งหมด

นี่เป็นรายละเอียดข้อควรรู้คร่าวๆเกี่ยวกับตลาดหลักทรัพย์ ในบทความต่อไปเราจะรวบรวมรายละเอียดเทคนิคการลงทุนให้ได้กำไรมาฝากกันต่อไปครับ

Thanks for Reading

Enjoyed this post? Share it with your networks.

Leave a Feedback!