ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เมื่อกล่าวถึงภาษี เชื่อว่าหลายคนคงแทบอยากจะเบือนหน้าหนี  เพราะภาษีถือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากและซับซ้อนระดับหนึ่ง ฃ

ทั้งยังแยกออกเป็นหลายประเภท เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  ภาษีนิติบุคคล  ภาษีมูลค่าเพิ่ม  ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นต้น โดยที่กล่าวมายังเป็นภาษีเฉพาะตามประมวลกฎหมายรัษฎากรเท่านั้น  ซึ่งยังมีภาษีอยู่อีกหลายประเภทที่ต้องอาจเสีย แต่อยู่ในกฎหมายอื่น เช่น ภาษีนำเข้าและส่งออก ตามกฎหมายศุลกากร ภาษีโรงเรือนที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน เป็นต้น จะเห็นได้ว่าภาษีนั้นเปรียบเสมือนสิ่งที่ติดตามเราทุกการกระทำ จนมีผู้กล่าวว่า สิ่งที่หนีไม่พ้นในชีวิตนี้คือความตายและภาษี เหตุผลเพราะแม้เราจะหลบเลี่ยงหรือหลีกหนีภาษีประเภทหนึ่ง ก็ย่อมต้องอาจเสียภาษีอีกประเภทหนึ่ง เช่น เพียงท่านไปซื้อน้ำเปล่าขวดหนึ่ง สิ่งที่ต้องเสียรวมในราคาที่ขายนั้นคือภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น

อย่างไรก็ตามแม้ภาษีนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท แต่ภาษีที่ถือว่าสำคัญที่สุด และเป็นพื้นฐานของภาษีทุกประเภทคือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เนื่องจากเป็นภาษีพื้นฐานที่ทุกคนควรรู้ โดยเบื้องต้นนั้น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ของประเทศไทย เป็นภาษีที่จัดเก็บตามหลักเรื่องแหล่งถิ่นที่อยู่ กล่าวคือหากบุคคลนั้นมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นบุคคลสัญชาติใด มีแหล่งรายได้จากที่ใดในโลก หากบุคคลนั้นอยู่ในประเทศรวมกันถึง 180 วันขึ้นไป ถือว่าบุคคลนั้นมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงการเสียภาษี(ไม่ว่าจะต้องเสียภาษีหรือไม่ก็ตาม)

ภาษีเงินได้

ซึ่งเรื่องนี้อาจต่างออกไปในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาที่ถือหลักสัญชาติเพิ่มขึ้นมาด้วย คนสัญชาติอเมริกันไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในโลก ย่อมมีหน้าที่เสียภาษีเสมอ ดังนั้นในการวางแผนภาษี (มิใช่การหลบเลี่ยงหรือหนีภาษี) หากผู้นั้นโดยเฉพาะคนสัญชาติอเมริกันหรือนักธุรกิจไทย ซึ่งประกอบธุรกิจอยู่ต่างประเทศเป็นหลัก หากไม่อยากเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของทั้งสองประเทศพร้อมกัน จึงควรคำนวณเรื่องวันที่อยู่ในประเทศไทยด้วย โดยไม่ให้อยู่ถึง 180 วัน เป็นต้น เช่น หากจะครบ 180 วันในปีภาษีนั้น ก็ให้ย้ายไปเที่ยวยังประเทศอื่น เป็นต้น

บุคคลที่ต้องเสียภาษี แม้ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยหลักแล้วย่อมคาดคิดว่าหมายถึงบุคคลทั่วไปทุกคน แต่ในความเป็นจริงแล้ว บุคคลตามกฎหมายหมายภาษีที่ต้องเสียภาษีนั้น จะกำหนดไว้เป็นพิเศษตามกฎหมายเฉพาะ ดังนี้

            1 บุคคลธรรมดา ได้แก่ ผู้อาศัยอยู่ในประเทศไทยทุกคนไม่ว่าสัญชาติใด เป็นเวลา 180 วันขึ้นไป

            2 ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่รวมตัวกัน กล่าวคือตามปกตินั้นหากเมื่อบุคคลรวมกัน 2 คนขึ้นไป รวมตัวกันจัดตั้งห้างหุ้นส่วน ความรับผิดย่อมเป็นไปกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เรื่องห้างหุ้นส่วน ซึ่งยังมิถือว่ามีสภาพบุคคลแต่อย่างใด เพราะยังมิได้จดทะเบียนนิติบุคคลแยกออกไป แต่ในทางกฎหมายภาษีบัญญัติเป็นเฉพาะให้ถือเป็นบุคคลธรรมดาอีกบุคคล ซึ่งเป็นข้อยกเว้นกฎหมายทั่วไป

            3 ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี เนื่องจากตามปกตินั้นในทางกฎหมาย เมื่อบุคคลใดสิ้นสภาพบุคคลแล้ว ย่อมหมดอำนาจและหน้าที่ต่าง ๆ แต่ในทางภาษียังมีหน้าที่อยู่ โดยหน้าที่ในยื่นแบบแสดงเสียภาษีเป็นของทายาทผู้ตาย

            4 กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง กรณีนี้เฉพาะเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายจนข้ามปีภาษีถัดไปอีกปีแล้ว ปรากฏว่ายังมิได้มีการแบ่งมรดกนั้น และโดยกองมรดกนั้นก่อให้ทรัพย์สินรายได้ เช่น เงินค่าเช่าที่ดิน ดอกเบี้ย จนเข้าเกณฑ์ที่จะเสียภาษีได้

            แหล่งที่มาเงินได้ตามประมวลกฎหมายรัษฎากรมาตรา 40 นั้น กำหนดแหล่งมาเงินได้ จำแนกออกเป็น 8 ประเภท ดังนี้

            1.เงินได้เนื่องจากการแรงงาน เช่น เงินเดือน เบี้ยเลี้ยง

            2.เงินได้จากการจ้างทำของ หรือตำแหน่งงานที่ทำที่มิได้มีลักษณะนายจ้างลูกจ้างต่อกัน เช่น ค่านายหน้า ค่าออกแบบ

            3.เงินได้จากค่าตอบแทนจำพวกค่าลิขสิทธิ์ ค่าแห่งกู๊ดวิว (Goodwill)

            4.เงินได้ประเภท ดอกเบี้ย ผลประโยชน์จาการโอนหุ้น

            5.เงินได้ประเภทจากค่าเช่าทรัพย์ หรือสิ่งอื่นทำนองเดียวกัน เช่น เงินมัดจำ

Thanks for Reading

Enjoyed this post? Share it with your networks.

Leave a Feedback!