ถึงเวลาตรวจสุขภาพทางการเงินกันแล้ว

forex

ในทุกปีพวกเราควรตรวจสุขภาพกันอย่างน้อยสักหนึ่งครั้ง ซึ่งเชื่อว่าในข้อนี้หลาย ๆ คนสามารถทำได้ แต่ยังมีอีกหนึ่งการตรวจสุขภาพที่คุณควรหมั่นตรวจให้บ่อยกว่าปีละหนึ่งครั้งนั่นก็คือ ‘สุขภาพทางการเงิน’ โดยหลายคนอาจยังไม่แน่ใจว่าจะสามารถตรวจสอบสุขภาพด้านนี้กันได้ด้วยวิธีไหนบ้าง วันนี้เราขออาสานำรายการตรวจสุขภาพทางการเงินมาฝากคุณกัน เผื่อคุณจะสามารถนำไปปรับใช้ให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ของตัวเองกันได้ และกลายเป็นคนที่มีสุขภาพทางการเงินที่แข็งแรงมากยิ่งขึ้น พร้อมแล้วมาเริ่มกันเลยดีกว่า

เริ่มจากการตรวจสอบหนี้ก่อนเป็นอันดับแรก

          หนี้นั้นไม่ใช่สิ่งที่ไม่ดีเพียงแต่คุณจำเป็นที่จะต้องบริหารจัดการให้ถูกต้องเท่านั้นเอง โดยเริ่มจากการแบ่งหนี้ออกเป็น 2 ประเภทคือ หนี้ระยะสั้นคือหนี้ที่ไม่เกิน 1 ปี และหนี้ระยะยาวคือหนี้ที่มีอายุเกิน 1 ปีขึ้นไป หลังจากแยกประเภทได้เป็นที่เรียบร้อยแล้วให้คุณเริ่มเขียนรายการออกมาว่าหนี้แต่ละรายการนั้นคุณมีอยู่จำนวนเท่าไรและทำการสรุปว่าในหนึ่งเดือนนั้นคุณจำเป็นที่จะต้องจ่ายมากน้อยขนาดไหน

            โดยคนที่มีสุขภาพทางการเงินที่ดีนั้นจะมีหนี้อยู่ไม่เกิน 40% ของรายได้ โดย 60% ที่เหลือจะเป็นค่าใช้จ่ายและการเก็บออมของคุณได้ แต่ถ้าหนี้เกิน 40% แล้วล่ะก็อาจทำให้การจัดการสุขภาพทางการเงินของคุณรัดตัวมากยิ่งขึ้น ดังนั้นเมื่อตรวจสุขภาพแล้วพบว่ามีหนี้เกินที่ควรจะเป็นถึงเวลาที่คุณต้องหาวิธีลดหนี้หรือเพิ่มรายได้กันได้ที่ ฝาก 200 รับ 400

หันกลับมามองส่วนของเงินออมฉุกเฉิน

          หลังจากตรวจสอบความคล่องตัวในเรื่องของหนี้สินกันไปแล้ว การมีเงินเก็บก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญสำหรับสุขภาพการเงิน คำที่ว่าเหลือดีกว่าขาดใช้ได้ดีเสมอในเรื่องของเงินทอง ดังนั้นสิ่งที่คุณควรมีคือเงินเก็บออมเอาไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉินนั่นเอง และต่อให้ไม่ได้ใช้หรือไม่มีเหตุฉุกเฉินคุณก็ยังควรจะมีเงินส่วนนี้เอาไว้อยู่ดี เพราะแสดงได้ถึงความมั่นคงทางการเงินของคุณนั่นเอง

            โดยถ้าจะถามว่าการตรวจสอบว่ามีสุขภาพทางการเงินด้านนี้ดีหรือไม่คือการตรวจสอบว่าคุณนั้นมีเงินสำรองเพียงพอที่จะใช้ในกรณีที่ไม่มีรายได้เข้ามาเลยเป็นเวลา 6 เดือนขึ้นไปหรือไม่ หรือในกรณีที่น้อยที่สุดคุณควรมีเงินฉุกเฉินเป็น 3 เท่าของรายได้ปัจจุบัน ซึ่งถ้าคุณผ่านตามเกณฑ์เหล่านี้ก็หมายความว่าคุณอยู่ในขั้นของคนที่มีสุขภาพทางการเงินดีในระดับหนึ่งเลยทีเดียว

มองให้ไกลขึ้นที่แผนการเงินหลังการเกษียณ

          การทำงานของคนเราเมื่อถึงในช่วงอายุหนึ่งก็จำเป็นต้องหยุดหรือเบาลง เพราะแน่นอนว่าสุขภาพร่างกายรวมทั้งอายุที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ คงจะไม่สามารถให้คุณนั้นทำงานหรือมีไลฟ์สไตล์เดิม ๆ ได้ตลอดไปอย่างแน่นอน ดังนั้นการวางแผนเพื่อการเกษียณในด้านต่าง ๆ รวมทั้งการเงินจึงเป็นเรื่องสำคัญ

            คุณควรกำหนดว่าจะเกษียณเมื่ออายุเท่าไร ต้องใช้เงินเดือนละเท่าไหน และต้องคำนวณควบคู่ไปกับความผันผวนของค่าเงินในอนาคต จากนั้นเริ่มลงมือเก็บเงินใส่ส่วนนี้เอาไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อที่เมื่อถึงเวลาที่คุณต้องการเกษียณจริง ๆ แล้วนั้นทุกอย่างจะได้เกิดขึ้นได้ตามแผนที่คุณต้องการ โดยเงินในส่วนนี้ควรเก็บในจำนวนที่แน่นอนเป็นประจำอย่างมีระเบียบ ซึ่งถ้าคุณทำส่วนนี้อยู่และทำได้ดีหมายความว่าคุณมีสุขภาพทางการเงินที่ดีอีกหนึ่งข้อแล้ว

Credit card

คนสุขภาพการเงินดีจะลงทุนได้อย่างงอกเงย

          หลังจากหนี้มีอย่างพอดีไม่เกินขีดที่ควร มีการเก็บออมได้ตามเป้า พร้อมทั้งวางแผนเกษียณเอาไว้เรียบร้อย ขั้นสุดท้ายของการตรวจสอบสุขภาพทางการเงินอย่างง่ายก็คือ คุณสามารถลงทุนได้ดีหรือไม่นั่นเอง ถ้าตอนนี้คุณยังไม่เริ่มลงทุนแล้วเริ่มเห็นว่าการเงินคล่องตัวมากพอที่จะแบ่งมาลงทุนเราขอแนะนำว่าควรทำ

            ส่วนใครที่ลงทุนไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้นเราขอให้คุณตรวจสอบให้ดีว่ามีการกระจายความเสี่ยงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยสิ่งที่จะทำให้คุณลงทุนได้ดีที่สุดก็คือการศึกษาหาข้อมูลอย่างรอบด้านก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน และได้วางแผนการลงทุนเอาไว้ให้ดีแล้วว่าหากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นคุณจะไม่เดือดร้อนในส่วนนี้

            เมื่อคุณสามารถลงทุนกระจายความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม คุณจะค่อย ๆ เห็นเมล็ดพันธุ์แห่งการลงทุนของคุณงอกเงย ในกรณีที่คุณรับความเสี่ยงได้มากก็อาจจะโตเร็ว แต่ในกรณีที่อยากให้ค่อยเป็นค่อยไปก็อาจเติบโตช้าแต่มั่นคง คุณสามารถเลือกสไตล์การลงทุนได้อย่างที่ต้องการ ซึ่งไม่ว่าอย่างไรสุขภาพการเงินที่ดีต้องควบคู่มากับการลงทุนด้วย ดังนั้นอย่าพลาดที่จะรีบศึกษาเรื่องนี้เพิ่มเติม

            นี่เป็นการตรวจสุขภาพการเงินของแต่ละคนในแบบที่ง่ายดายมากที่สุด ถ้าคุณอยากเจาะลึกหรือวางแผนด้านไหนเป็นพิเศษก็สามารถที่จะทำได้ตามสไตล์ที่คุณต้องการ อย่างเช่น คุณอาจแบ่งการเก็บเงินหลากหลายประเภทมากกว่าที่เราแนะนำ อาจมีการลงทุนในหลายรูปแบบ รวมทั้งหาช่องทางรายได้เสริม

            สุดท้ายแล้วสุขภาพการเงินที่ดีจะเกิดขึ้นได้จากการมีระเบียบวินัยทำตามแผนที่วางเอาไว้อย่างเคร่งครัด พร้อมกับการหมั่นหาความรู้ทันเหตุการณ์ โดยอย่าลืมหมั่นตรวจสุขภาพทางการเงินของตัวเองกันอยู่เสมอ เพื่อจะได้แก้ไข บำรุง และดูแลสุขภาพทางการเงินของตัวเองให้มั่นคงที่สุดนั่นเอง

Thanks for Reading

Enjoyed this post? Share it with your networks.

Leave a Feedback!