Cryptocurrency คือ

cryptocurrency

เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินคำว่า Cryptocurrency มาไม่มากก็น้อย

และเชื่อว่าหลายคนยังคงสงสัยมันคือสิ่งใด …อันที่จริงแล้ว Cryptocurrency หรือ สกุลเงินอิเล็กทรอนิกส์ เป็นสิ่งที่มีมานานไม่ต่ำกว่า 20 ปีแล้ว เพียงแต่เป็นที่รู้จักแก่บุคคลเฉพาะกลุ่ม เช่น นักเล่นเกม นักเทรดฟอเรกซ์ (Forex) กล่าวโดยง่ายก็คือค่าเงินประเภทหนึ่ง ซึ่งใน

แต่เดิมนั้นมีหลายสกุลมาก เช่น E-Gold (ค.ศ.1998-2009) , E-bullion (ค.ศ.2000-2008) , Liberty Reserve (ค.ศ.2006-2013) Web-money (ค.ศ1996- ปัจจุบัน) จากที่กล่าวเป็นชื่อ Cryptocurrency แต่ละสกุลเงิน  โดยหลายสกุลเงินก็ได้ปิดตัวลงไปแล้ว แต่ก็ยังมีอีกหลายสกุลเงินที่ยังเปิดทำการปกติ ทั้งนี้สกุลเงินอิเล็กทรอนิกส์เช่นนี้ ในแต่เดิมมักอิงราคาทองคำ เช่น E-Gold หรืออิงราคาสกุลเงินดอลลาร์เป็นหลัก เช่น 1 E-bullion มีค่าเท่ากับ 1 ดอลลาร์ เป็นต้น ดังนั้นในสมัยก่อนจึงไม่มีใครคิดเก็งกำไรจาก Cryptocurrency เนื่องจากมันอ้างอิงสกุลเงินหรือทองคำปกติอยู่แล้ว

cryptocurrency

แต่เดิม Cryptocurrency สมัยก่อนเป็นเพียงสื่อกลางเสมือนเงินตราปกติ แต่เพียงเพิ่มความสะดวกในโอน โดยไม่จำต้องผ่านธนาคารเหมือนการการโอนเงินทั่วไป ซึ่งกรณีดังกล่าวมักถูกมองว่าเป็นแหล่งฟอกเงินด้วย เพราะการโอน Cryptocurrency แต่ละครั้ง มิได้มีการแจ้งหน่วยงานรัฐเหมือนธนาคารทั่วไป

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน Cryptocurrency หรือสกุลเงินอิเล็กทรอนิกส์เป็นที่รู้จักมากขึ้น เนื่องด้วยการถือกำเนิด Bitcoin โดย Bitcoin นั้น มีลักษณะแตกต่างจาก Cryptocurrency ทั่วไปที่เคยมีมาตรงที่มันมีค่าในตัวเอง กล่าวคือ Bitcoin มิได้อ้างอิงค่า

เงินสกุลเงินใดหรือราคาทองคำ แต่มันมีค่าเพราะด้วยความจำกัดในทรัพยากร เสมือนทองคำ โดยทั้งระบบมีจำกัดได้ไม่เกิน  21 ล้านหน่วย Bitcoin ดังนั้นมันจึงมีค่าในตัวเอง โดยเป็นไปตามหลักเศรษฐศาสตร์ทั่วไปเรื่อง Demand – Supply

ด้วย Cryptocurrency ที่มีมาในอดีตมักเป็นสิ่งที่รู้กันเฉพาะกลุ่มสำหรับผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในการทำธุรกรรม โดยเฉพาะธุรกรรมระหว่างประเทศ เช่น นักเทรดฟอเรกซ์ หรือเว็บเกมพนันต่าง ๆ และบริษัทการลงทุน ที่ยอมรับค่าเงินนี้  ดังนั้นจึงไม่แปลกที่แม้ Crypto currency จะถือกำเนิดขึ้นมานานแล้ว แต่ยังแทบไม่เป็นที่รู้จัก อย่างไรก็ตามเชื่อว่าในอนาคตความนิยม Cryptocurrency น่าจะมีมากขึ้น เพราะผู้คนในปัจจุบันสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้มากขึ้น รวมถึงความสะดวกในการใช้งาน ซึ่งง่ายกว่าการทำธุรกรรมในระบบธนาคารทั่วไป รวมถึงถูกตรวจสอบได้ง่าย แต่ทั้งนี้ก็ยังคงมีข้อน่าห่วงใยในบางเรื่อง เช่น เรื่องความมั่นคงของรัฐ กล่าวคือ ด้วยระบบ Crypto currency โดยเฉพาะในสมัยอดีตที่ผ่านมานั้น ผู้ทำธุรกรรมไม่จำเป็นต้องยืนยันตัวเอง จึงยากแก่การตรวจสอบแหล่งที่มาของเงิน ซึ่งต่างจากระบบธนาคารปกติ ดังนั้นจึงอาจมีปัญหาด้านกฎหมายเกี่ยวกับการฟอกเงินข้ามชาติได้ ซึ่งนี่ย่อมถือเป็นจุดด้อยอย่างหนึ่ง  และจุดนี้เองเป็นชนวนสาเหตุที่ย่อมเป็นไปได้ยากที่ทางรัฐบาลทุกประเทศจะยอมรับค่าเงิน Crypto currency ดังนั้นหากพิจารณาในแง่ความเป็นสากลแล้ว Crypto currency ยังคงต้องใช้เวลาพิสูจน์อีกมากในการที่จะเป็นที่ยอมรับจากทั่วทุกสาขาองค์กร

Thanks for Reading

Enjoyed this post? Share it with your networks.

Leave a Feedback!