การนำกำไรไปลงทุนต่อเพื่อการพัฒนาของบริษัท

การเลือกลงทุนธุรกิจที่มีผลการดำเนินงานที่ดี ทำกำไรได้ดี ก็จะมีจ่ายปันผลแก่ผู้ถือหุ้นอย่างสม่ำเสมอทุกปในการลงทุนในแต่ละครั้ง คุณจำเป็นต้องรู้จักเกี่ยวกับธุรกิจนั้น ๆอย่างไม่มีข้อสงสัยเสียก่อน ควรพิจารณาถึงปัจจัยในหลายๆด้านที่ส่งผลต่อผลตอบแทนและความมั่นคงทางธุรกิจ ยิ่งผลตอบแทนของกำไรมากเท่าไหร่นั่นหมายถึงว่า ผู้บริหารมีความสามารถในการบริหารจัดการและสร้างผลกำไรให้กับบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บริษัทมีค่าใช้จ่ายหรือการลงทุนเพื่อการแข่งขันมากน้อยเพียงไร

      บางครั้งการลงทุนสำหรับการวิจัยและพัฒนาบริษัทสำหรับธุรกิจประเภทอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีนั้นสำคัญเป็นอย่างมาก หากไม่มีการพัฒนาและนำเสนอสินค้าใหม่ๆ บริษัทก็ไม่สามารถแข่งขันกับบริษัทคู่แข่งได้ และถูกแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดไป หรืออาจนำไปสู่การปิดการลงทุนนั้นไปเลย

      หากบริษัทใช้รายได้ส่วนใหญ่ไปกับการลงทุนที่ไม่ก่อให้เกิดผลกำไรแก่บริษัทมากเกินไป อาจทำให้บริษัทขาดโอกาสที่จะไปเพิ่มมูลค่าในส่วนของผลตอบแทนผู้ถือหุ้นน้อยลงด้วย อย่างเช่น การขยายธุรกิจ การซื้อหรือขายหุ้นคืน การซื้อธุรกิจอื่น และการจ่ายปันผล มันจึงเป็นเรื่องยากที่จะเพิ่มผลกำไรสม่ำเสมอทุกปี

กลยุทธ์ทางการตลาด

      บริษัทที่ทำผลกำไรได้เป็นกอบเป็นกำ บริษัทที่ดีจะนำผลกำไรเหล่านั้นเพิ่มมูลค่าผลตอบแทนด้วยการซื้อกิจการเพิ่ม คุณจำเป็นต้องหาข้อมูลว่าบริษัทนั้นนำเงินไปลงทุนธุรกิจประเภทไหน เป็นธุรกิจประเภทเดิม หรือเป็นธุรกิจที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ซึ่งการซื้อกิจการที่เป็นธุรกิจที่บริษัทไม่มีความเชี่ยวชาญเลย เปอร์เซ็นต์ที่จะประสบความสำเร็จได้นั้นมีน้อยมาก

      ผู้บริหารบางคนอาจคิดว่าหากรวมบริษัทที่เป็นธุรกิจที่มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงจะสามารถรวมตัวกันได้ พวกเขาอาจคาดการณ์ผิด ประวัติศาสตร์เคยสอนเราไว้ว่า “ผู้บริหารส่วนใหญ่มักไม่ประสบความสำเร็จจากการรวมตัวของธุรกิจที่มีความแตกต่างกัน หลังจากพยายามมาหลายปี พวกเขาจะล้มเหลวและในที่สุดก็จะล้มเลิกธุรกิจนั้นไปเลย”

      แนวความคิดที่รวมบริษัทที่เป็นธุรกิจที่แตกต่างและรุ่งเรืองจากการซื้อธุรกิจต่างประเภทกัน เบื้องหลังความคิดนี้คือ บริษัท โฮลดิ้ง และนี่คือวิธีที่ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ใช้สร้าง เบิร์กเชียร์ แฮทธาเวย์ขึ้นมา หากคุณพิจารณาดีดีบริษัทประเภทนี้ใช้ข้อทดสอบความเชี่ยวชาญเดียวกันไม่ได้ นั่นคือความแตกต่างระหว่างบริษัทโฮลดิ้งของวอร์เรน บัฟเฟตต์ กับธุรกิจทั่วไปที่พยายามซื้อธุรกิจใหม่เพื่อขยายตัว

     ความแตกต่างระหว่างบริษัทโฮลดิ้งของวอร์เรน บัฟเฟตต์ กับธุรกิจทั่วไป

  • วอร์เรน บัฟเฟตต์ ซื้อประมาณ 80 ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ของธุรกิจเมื่อเขาซื้อ 80 เปอร์เซ็นต์ของธุรกิจ อีก 20 เปอร์เซ็นต์ยังคงถือไว้โดยผู้ก่อตั้งบริษัทหรือเจ้าของคนเก่า ซึ่งยังคงบริหารธุรกิจไปตามปกติ บัฟเฟตต์ อาจพุดคุยด้วยบ้างเล็กน้อย
  • วอร์เรน บัฟเฟตต์ ไม่แทรกแซงการตัดสินใจของผู้บริหารเดิม พวกเขาสามารถบริหารธุรกิจต่อไปอย่างที่ต้องการ หากผู้บริหารเดิมสนใจเข้ามาพูดคุยกับเขา เขาก็จะพูดด้วย แต่บัฟเฟตต์จะไม่รบกวนการบริหารงานประจำวันของพวกเขา สิ่งที่พวกเขาต้องทำคือ ส่งงบการเงินที่จัดทำขึ้นให้กับบัฟเฟตต์ทุกเดือน หรือทุกไตรมาส เมื่อพวกเขามีกำไรมากขึ้น พวกเขาสามารถนำกำไรเหล่านั้นกลับไปให้บัฟเฟตต์ลงทุนที่อื่นอีก

รายได้กี่เปอร์เซ็นต์ที่ถูกใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนา

โดยส่วนมากบริษัทจะมีการจัดสรรกำไรส่วนหนึ่งในการวิจัยและพัฒนาเพื่อคิดค้นสินค้าใหม่ๆหรือยกระดับสินค้าที่มีอยู่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตลง โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี หากบริษัทเหล่านี้ไม่คิดค้นเพื่อนำเสนอสินค้าใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา ก็อาจสู้คู่แข่งไม่ได้และถูกชิงส่วนแบ่งทางการตลาดไป

แม้แต่สินค้าที่ถูกผูกขาดก็ต้องเก็บพับสินค้าเก่าๆและนำเสนอสินค้าใหม่ขึ้นมาแทนที่เช่นกัน นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับไมโครซอฟท์ เอ็มเอสด็อทเป็นเครื่องมือที่ทำรายได้ให้กับไมโครซอฟท์อยู่หลายปี แต่เนื่องจาก แอปเปิลอยู่ระหว่างขั้นตอนของการนำเสนอระบบปฏิบัติการแบบกราฟิกในเครื่องแมค ไมโครซอฟท์จึงนำเสนอระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เพื่อแข่งขันกับระบบปฏิบัติการแบบกราฟิกของแมค ผลก็คือดีโอเอสสูญเสียรายได้ไป หากไมโครซอฟท์ไม่ส่งมอบระบบปฏิบัติการวินโดวส์ แอปเปิลก็อาจแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดไปมากกว่านี้

ลองดูอินเทลซึ่งออกซีพียูความเร็วสูงมาทุกปี เพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดไว้ แม้แต่บริษัทสินค้าอุปโภคบริโภค ก็จำเป็นต้องคิดค้นสินค้าใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดที่มีอยู่และเพิ่มรายได้ไปตามกาลเวลา ยกตัวอย่างเช่น ยิลเล็ตต์ คิดค้นสินค้าใหม่อย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาและเพิ่มส่วนแบ่งตลาด โคคา-โคล่า นำเสนอโค้กหลายรสชาติ เพื่อเพิ่มรายได้ของบริษัท

ผู้บริหารปัจจุบันสามารถพัฒนาให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างไร

ในฐานะนักลงทุน คุณจำเป็นต้องรู้ว่าผู้บริหารปัจจุบันสามารถพัฒนาให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างไร และสามารถสร้างผลกำไรในการลงทุนให้มีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหนด้วย การนำเงินเพื่อลงทุนในการวิจัยและพัฒนานั้นสำคัญต่อการสร้างรายได้ให้บริษัทมากทีเดียว ความเป็นจริงสินค้าบางอย่างจากการวิจัยหรือพัฒนาอาจไม่ประสบความสำเร็จทุกชิ้น แต่คุณต้องทำความเข้าใจว่านั่นคือส่วนหนึ่งในการวิจัยและพัฒนา ในการลงทุนที่จะประสบความสำเร็จ คุณต้องคำนวณว่ากี่เปอร์เซ็นต์ที่จะสำเร็จและกี่เปอร์เซ็นต์ที่จะล้มเหลว และผลกำไรได้มาจากสินค้าตัวไหนบ้าง

การวิเคราะห์บริษัทในอุตสาหกรรมนั้นๆ

 ในการวิเคราะห์บริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน ให้วิเคราะห์จากสินค้าใหม่และสินค้าเดิมที่เคยสร้างรายได้ดีมาก่อน แอปเปิลประสบความสำเร็จอย่างยิ่งเมื่อสิบปีที่ผ่านมา เพราะการคิดค้นสินค้าใหม่อย่าง ไอพอต ไอทูน  ไอโฟนและไอแพด ลองดูอีกตัวอย่างหนึ่งคือ สามเอ็ม ที่คิดค้นสินค้าใหม่นับร้อยเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาดในธุรกิจอุตสาหกรรมอื่นๆ

บริษัทที่ขายสินค้าเดิมเป็นเวลาหลายปี สร้างความนิยมและรายได้จากสินค้าเดิมโดยไม่ต้องนำเสนอสินค้าใหม่ตลอดเวลา อาจต้องใช้ค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการวิจัยและพัฒนาอยู่บ้าง แต่ก็อีกนานหลายปีทีเดียวกว่าจะต้องนำเสนอสินค้าใหม่ นั่นคือเหตุผลที่ วอร์เรน บัฟเฟตต์เลือกลงทุนกับ โคคา-โคล่า, ยิลเล็ตต์, อเมริกัน เอ็กซ์เพรส และวอชิงตัน โพสต์ ซึ่งต่างจากแอปเปิลและไมโครซอฟท์ ที่ต้องนำเสนอสินค้าใหม่ทุกปี

เมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทเหล่านี้ ธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยีในเรื่องของนวัตกรรมนั้นค่อนข้างสำคัญมาก วงจรของสินค้าที่ต้องนำเสนอนั้นระยะเวลาช่างแสนสั้นอีกด้วย หากบริษัทไม่นำเสนอสินค้าใหม่อยู่ตลอดเวลา อาจทำให้บริษัทสูญเสียรายได้และธุรกิจอาจไม่ประสบความสำเร็จ ความไม่แน่นอนนี้ทำให้ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ปฏิเสธบริษัทที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจไฮเทคอย่างสิ้นเชิง

 อีกประการหนึ่ง วอร์เรน บัฟเฟตต์ ไม่มีความชำนาญทางเทคนิคเกี่ยวกับธุรกิจด้านเทคโนโลยี ที่จะประเมินความเป็นไปได้ในอนาคตเลย เมื่อคุณคิดจะลงทุนจงใส่ใจเป็นพิเศษที่จะหาข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทที่จะทำการลงทุน ตรวจสอบการทำรายงานการวิจัยและพัฒนาที่ผ่านมาว่ามีประสิทธิภาพมากเพียงไรในการสร้างรายได้ หากคุณพบบริษัทที่ไม่มีค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาแต่บริษัทยังสามารถเติบโตมากกว่าสิบห้าเปอร์เซ็นต์ในห้าปีที่ผ่านมาเป็นอย่างน้อย ก็หมายความว่าคุณได้พบบริษัทที่มีคุณภาพและควรทำการวิเคราะห์ในรายการอื่นต่อไป

Thanks for Reading

Enjoyed this post? Share it with your networks.

Leave a Feedback!